สมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขสายวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดสงขลา

Main Article Content

สุจิตน์ ไหมชุม

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้เพื่อศึกษาสมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและเปรียบเทียบสมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขสายวิชาชีพในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จังหวัดสงขลา จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่ง ประสบการณ์ผลงานวิชาการ ระดับการศึกษา และการเป็นตัวชี้วัดในการเลื่อนเงินเดือน จำนวน 136 คน ใช้วิธีสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ได้ค่าความตรงระหว่าง .67 – 1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคได้เท่ากับ .969 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Independent t-test ผลการวิจัยพบว่า


สมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขสายวิชาชีพใน รพ.สต. จังหวัดสงขลา


1. พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (equation = 3.51, SD= 0.45) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านเจตคติต่อการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (equation = 3.83, SD= 0.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านความสามารถในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (equation = 3.10, SD= 0.64)


2. บุคลากรสายวิชาชีพใน รพ.สต. จังหวัดสงขลาที่มีประสบการณ์ทำงาน ประสบการณ์ผลิตผลงานวิชาการ และระดับการศึกษาต่างกันมีสมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 (p-value= .020, .002 และ .007 ตามลำดับ)


ผู้รับผิดชอบในระดับจังหวัดควรจัดอบรมพัฒนาศักยภาพด้านการผลิตผลงานวิชาการ ได้แก่ การทำวิจัย  R2R CQI นวัตกรรม เป็นต้น อย่างต่อเนื่องและจริงจัง โดยการประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาที่มีศักยภาพในพื้นที่


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). กระทรวงสาธารณสุข.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

จันทร์ทา มั่งคำมี. (ม.ป.ป.). การพัฒนาสมรรถนะบุคลากรสำนักยุทธศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/files/2562_1597915712_6114832012.pdf.

เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี ในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดตาก คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 123-132.

พิมพ์ลักษณ์ อยู่วัฒนา. (2557). แนวทางการพัฒนาศักยภาพบุคลากรสายสนับสนุนเครือข่ายบริการสาธารณสุข จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานการวิจัยกลุ่มงานบริหารงานทั่วไป โรงพยาบาลอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสงคราม.

มัณฑนา จิระวังกาน และสาวิตรี สารพล. (2556). ผลการพัฒนาสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 28(2), 121-129.

วิโรจน์ เซมรัมย์ และวรางคณา จันทร์คง. (2559) การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. (2561). การศึกษาภาระงานและผลิตภาพกำลังคนในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.). สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

สมภพ ห่วงทอง และสุทธิศักดิ์ สุริรักษ์. (2564). ความต้องการพัฒนาตนเองด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนปฏิบัติการ โรงพยาบาลบ้านคา จังหวัดราชบุรี. วารสารศาสตร์สาธารณสุขและนวัตกรรม, 1(1), 51-64.

อนัญฐ์ณิศา มณีวงศ์, นฤมล เอื้อมณีกูล, สุรินธร กลัมพากร และวันเพ็ญ แก้วปาน. (2559). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลสาธารณสุขในเขตภาคกลาง. วารสารพยาบาลสาธารณสุข, 30(3), 1-15.

อาคม ปัญญาแก้ว และประจักร บัวผัน. (2554). ปัจจัยการบริหารและกระบวนการบริหารองค์การที่มีผลต่อสมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีอนามัย เขตโซนเหนือ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 16(7), 855-863.

อิสรีย์ พันธ์เหนือ, สมใจ พุทธาพิทักษ์ผล และสุวรรณา บุญยะลีพรรณ. (2562). สมรรถนะด้านการวิจัยของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 37(1), 80-87.

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16, 297-334.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd.). Lawrence Erlbaum Associates.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

McClelland, D. C. (1989). Motivational factors in health and disease. American Psychologist, 44(4), 675-683.