วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL <table width="865"> <tbody> <tr> <td colspan="9" width="865"><strong>วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ISSN: 3027-883X (Online)</td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>กำหนดออก</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน ในรูปแบบออนไลน์ดังนี้</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน (Volume 1: January – April)</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม (Volume 2: May – August)</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม (Volume 3: September – December) </td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพในด้านสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">ศึกษาศาสตร์ วิทยาการจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เกษตรศาสตร์และสหกรณ์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ตลอดจนผู้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้า หรือเผยแพร่บทความ</td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ไม่เสียค่าใช้จ่าย</td> </tr> </tbody> </table> th-TH Sornchai.Sin@stou.ac.th (ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศรชัย สินสุวรรณ) Oraya.Yam@stou.ac.th (คุณอรญา แย้มประดิษฐ) Fri, 04 Jul 2025 15:31:56 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 บทบรรณาธิการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1817 ศรชัย สินสุวรรณ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1817 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1163 <p>การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม. จำนวน 328 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 –1.00 แบบสอบถามด้านความรู้ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.74 ด้านทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.70 และ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.35 มีระดับทัศนคติสูงและปานกลางเท่ากัน ร้อยละ 50.00 ปัจจัยเอื้อในการรับรับยาปฏิชีวนะมากที่สุด คือ โรงพยาบาลของรัฐ ร้อยละ 36.3 แลได้รับข้อมูลข่าวสารจากอินเติร์เน็ตและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้เคียงกัน ร้อยละ 36.3 และ 35.4 ส่วนปัจจัยเสริมมาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากที่สุด ร้อยละ 45.1 สำหรับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 53.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม</p> <p>ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดโปรแกรมการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นแกนนําการใช้ยาที่ถูกต้องและสร้างทัศนคติที่ดีให้ อสม.</p> นิภาภัทร พนังแก้ว Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1163 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1516 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 75 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4</p> <p>กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจตุรพักตรพิมานรัชดาภิเษก จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ และ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เซต โดยใช้เทคนิค STAD ร่วมกับเทคนิค KWDL หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> สุภาวดี ศรีมาน, สุวรรณวัฒน์ เทียนยุทธกุล Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1516 Thu, 08 May 2025 00:00:00 +0700 ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1905 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัด การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติหลังการทดลอง</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมเป็น 60 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากนั้นใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม 2) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ 3) แบบวัดความฉลาดทางสังคมมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที</p> <p>ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> จุรีพร แก้วณะศรี, จิระสุข สุขสวัสดิ์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1905 Fri, 04 Jul 2025 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนที่มีความเสี่ยง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1918 <p>การวิจัยนี้เชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแรงสนับสนุนทางสังคม 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนที่มีความเสี่ยง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 184 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายข้อระหว่าง 0.67 – 1.00 ตรวจสอบค่าความเที่ยงแบบสอบถามความรู้ด้วยสถิติ KR-20 เท่ากับ 0.72 ด้านทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาชได้สัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.811, 0.842 และ 0.873 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยแบบขั้นตอน</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาชีพ (พ่อบ้าน/แม่บ้าน) ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) และเพศ (หญิง) ซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกสำหรับเจตคติ และการมีญาติสายตรงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีอิทธิพลเชิงลบ สามารถอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 16.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>-value &lt; 0.05)</p> <p>ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงให้เจตคติที่ดีต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และจัดทำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง</p> สุรชัย ชัยสิทธิ์ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1918 Fri, 04 Jul 2025 00:00:00 +0700 การพลิกโฉมภาวะผู้นำในระบบสุขภาพ: เสริมสร้างทักษะการสอนงานและการแก้ปัญหาเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1333 <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพลิกโฉมภาวะผู้นำในระบบสุขภาพ โดยเน้นการเสริมสร้างทักษะการสอนงานและการแก้ปัญหาเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืน โดยพิจารณาบทบาทของภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงและการสอนงานในการพัฒนาบุคลากรในระบบสุขภาพ การศึกษานี้เป็นการทบทวนวรรณกรรมเชิงระบบจากงานวิจัยที่ตีพิมพ์ไม่เกิน 5 ปี รวมทั้งหมด 15 เรื่อง ซึ่งครอบคลุมประเด็นเกี่ยวกับการพัฒนาภาวะผู้นำ การสอนงาน การแก้ปัญหา และผลลัพธ์ในระบบสุขภาพ ผลการวิจัยพบว่า การใช้แนวคิดการสอนงานและภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงสามารถสร้างบรรยากาศที่ส่งเสริมการทำงานร่วมกัน เพิ่มความพึงพอใจในงาน และปรับปรุงผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วยได้อย่างมีนัยสำคัญ การพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาและการสอนงานอย่างต่อเนื่องช่วยเสริมความสามารถในการจัดการปัญหาที่ซับซ้อนและการตัดสินใจในสภาวะที่ไม่แน่นอน โดยการฝึกอบรมภาวะผู้นำในระยะยาวมีแนวโน้มสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกได้ยั่งยืนกว่าการฝึกอบรมแบบสั้น ๆ</p> <p>จุดเด่นของการพลิกโฉมภาวะผู้นำคือ การสร้างแรงจูงใจและเพิ่มขีดความสามารถให้กับบุคลากรผ่านการสอนงาน การนำภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงมาใช้นั้นช่วยกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทีมและการปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำภาวะผู้นำโดยใช้ทักษะการสอนงานและการแก้ปัญหา ประกอบด้วย 8 ประการ คือ 1) การใช้แนวคิดสอนงานเพื่อพัฒนาภาวะผู้นำ 2) ภาวะผู้นำเชิงเปลี่ยนแปลงมีผลเชิงบวกต่อผลลัพธ์ในระบบสุขภาพ 3) การสอนงานช่วยพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา 4) การฝึกอบรมและการพัฒนาภาวะผู้นำในระยะยาว 5) ความท้าทายในการปรับตัวและการบริหารภาวะผู้นำในบริบทต่าง ๆ 6) การปรับใช้ภาวะผู้นำดิจิทัลในระบบสุขภาพ 7) การเน้นพัฒนาภาวะผู้นำที่มุ่งสู่คุณค่าในระบบสุขภาพ และ 8) การวิจัยเพิ่มเติมที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ นอกจากนี้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาวะผู้นำยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจและการจัดการข้อมูลในองค์กร ข้อเสนอแนะจากการวิจัยชี้ให้เห็นว่าควรปรับแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำให้เหมาะสมกับบริบทเฉพาะและบทบาทที่หลากหลาย รวมถึงควรมีการประเมินผลลัพธ์ในระยะยาวและในบริบทที่แตกต่างกัน</p> <p>ข้อจำกัดของการวิจัยนี้อยู่ที่การปรับใช้โมเดลภาวะผู้นำในบางบริบทอาจไม่เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นควรมีการประเมินเพิ่มเติมเพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสมและมีความยืดหยุ่น โดยเน้นการผสมผสานภาวะผู้นำแบบดั้งเดิมเข้ากับแบบเชิงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของระบบสุขภาพในสถานการณ์ที่ท้าทายต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น</p> ชูพงษ์ คงเกษม, พรรณี บัญชรหัตถกิจ Copyright (c) 2025 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1333 Fri, 27 Jun 2025 00:00:00 +0700