ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
-
บทความต้องไม่เคยได้รับตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการเสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฉบับอื่นด้วย
-
บทความต้องมีองค์ประกอบครบถ้วน ซึ่งประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่งทุกคน [พร้อมระบุตำแหน่งทางวิชาการ (ถ้ามี) คุณวุฒิสูงสุด และสถานที่ทำงานของผู้แต่งทุกคน] บทคัดย่อ คำสำคัญ (keywords) เนื้อหาภายในบทความ การเขียนเอกสารอ้างโดยใช้รูปแบบการอ้างอิงแบบ APA 7th และหนังสือรับรองการวิจัยในมนุษย์ (ถ้ามี)
-
การพิมพ์เนื้อหาของบทความต้นฉบับใช้ตัวพิมพ์ (Font) ชนิด TH Sarabun PSK ขนาด 16 พอยต์ (point) พิมพ์กระดาษหน้าเดียวขนาด A4 แบบหนึ่งคอลัมน์ ความยาวของเนื้อหาทั้งหมดประมาณ 10-15 หน้า ทั้งนี้ทางวารสารอาจมีการปรับเปลี่ยนตัวพิมพ์ (Font) ในกระบวนการจัดรูปแบบให้เหมาะสมกับวารสารต่อไป
เอกสารสำหรับผู้เขียน
Template - บทความวิจัย
Template - บทความวิชาการ
การเขียนอ้างอิงแบบ APA 7
เอกสารสำหรับบรรณาธิการประจำเรื่อง
แบบประเมินคุณภาพทางวิชาการของบทความวิจัย
แบบประเมินคุณภาพทางวิชาการของบทความวิชาการ
กระบวนการพิจารณาบทความ |
ต้นฉบับบทความจะต้องผ่านกระบวนการพิจารณา ดังต่อไปนี้ |
1. การตรวจสอบจากกองบรรณาธิการ หากไม่เป็นไปตามรูปแบบของวารสารจะแจ้งผู้ประพันธ์บรรณกิจ |
(corresponding author) เพื่อทำการแก้ไขและส่งต้นฉบับมาใหม่ |
2. ต้นฉบับที่ผ่านการคัดกรองจะถูกส่งต่อไปยังบรรณาธิการเพื่อการประเมินคุณภาพ และพิจารณาหาผู้เหมาะสม |
ในการประเมินหรือทบทวนบทความ (reviewers) |
3. ต้นฉบับแต่ละเรื่องจะถูกส่งไปให้ผู้ประเมินบทความ (reviewers) อย่างน้อย 2 คน เพื่อประเมินและให้คำแนะนำ |
ต่อบรรณาธิการ |
ทั้งนี้ ผู้ประเมินบทความเป็นนักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับต้นฉบับนั้น ๆ |
โดยเป็นผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานของผู้นิพนธ์ และการส่งต้นฉบับให้แก่ผู้ประเมินบทความจะมีการปิดบังชื่อ |
และหน่วยงานของเจ้าของบทความไว้ (เป็นลักษณะ double blind review) |
4. ผู้ประเมินบทความประเมินตามเกณฑ์ที่กองบรรณาธิการกำหนด |
5. ผู้ประเมินบทความสรุปความเห็นต่อบรรณาธิการเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ |
Accept Submission รับตีพิมพ์บทความโดยไม่ต้องแก้ไข |
Revisions Required ให้ผู้นิพนธ์แก้ไขบทความ โดยให้บรรณาธิการพิจารณาต่อ |
Resubmit for Review ให้ผู้นิพนธ์แก้ไขบทความ โดยให้ส่งบทความกลับมาพิจารณาอีกครั้ง |
Resubmit Elsewhere ให้ผู้นิพนธ์ส่งบทความไปยังวารสารอื่น |
Decline Submission ไม่รับตีพิมพ์ |
6. บรรณาธิการจะรวบรวมข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประเมินบทความ และประสานงานกับผู้ประพันธ์บรรณกิจ |
เพื่อแจ้งผลการพิจารณา |
7. ในกรณีที่มีการแก้ไข ผู้ประพันธ์บรรณกิจดำเนินการปรับแก้ไขบทความตามข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้ประเมิน |
บทความ |
8. ต้นฉบับที่ได้รับการปรับปรุงจนมีความสมบูรณ์ จะได้รับการตีพิมพ์ ทั้งนี้ วารสารจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์ได้ทราบล่วงหน้าว่า |
บทความจะลงพิมพ์ในฉบับใด |