วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL <table width="865"> <tbody> <tr> <td colspan="9" width="865"><strong>วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ISSN: 3027-883X (Online)</td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>กำหนดออก</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ตีพิมพ์เผยแพร่ปีละ 3 ฉบับ ราย 4 เดือน ในรูปแบบออนไลน์ดังนี้</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน (Volume 1: January – April)</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม (Volume 2: May – August)</td> </tr> <tr> <td colspan="9">ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม (Volume 3: September – December) </td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีนโยบายรับตีพิมพ์บทความที่มีคุณภาพในด้านสังคมศาสตร์ ศิลปศาสตร์ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">ศึกษาศาสตร์ วิทยาการจัดการ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ นิติศาสตร์ เกษตรศาสตร์และสหกรณ์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีวิทยาศาสตร์การอาหาร วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ </td> </tr> <tr> <td colspan="9">โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ คณาจารย์ นักศึกษา และนักวิจัย ตลอดจนผู้สนใจที่จะศึกษาค้นคว้า หรือเผยแพร่บทความ</td> </tr> <tr> <td colspan="9"> </td> </tr> <tr> <td colspan="9"><strong>ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</strong></td> </tr> <tr> <td colspan="9">ไม่เสียค่าใช้จ่าย</td> </tr> </tbody> </table> สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช th-TH วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต 3027-883X บทบรรณาธิการ https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1336 ศรชัย สินสุวรรณ Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 1 3 2 2 การศึกษาความคิดเห็น ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1006 <p>การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลักสูตร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน 2564 ระหว่างเปิดทำการหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ และสรุปหาข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ในรูปแบบการบรรยาย</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรในเชิงบวก หลักสูตรที่มีการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุม ทั้งในเรื่องวิชาการ และทักษะการฝึกปฏิบัติ สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ การส่งเสริมและสอดแทรกทักษะที่จำเป็นต่างๆ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการฝึกทักษะ ประสบการณ์วิชาชีพในบริบทของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน โดยมีความต้องการและความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ของหลักสูตร ให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรให้มีลักษณะเป็นผู้มีองค์ความรู้ด้านสุขภาพ โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้ความรู้กับบริบทงานที่รับผิดชอบได้อย่างดี มีการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และเน้นให้บัณฑิตมีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน (Soft Skills) จากผลการศึกษาควรนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตร การส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร และสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรต่อไป</p> ศิวานิตย์ ทองคำดี อดิษา บุตรแสนโคตร เสาวนีย์ ทองนพคุณ ชัยนันท์ เหมือนเพ็ชร์ ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม นิภา มหารัชพงศ์ ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 1 3 5 21 ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก - หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/929 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันในองค์กรของครู 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์และสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันในองค์กรของครู</p> <p>กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 118 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก – หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันในองค์การของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู อยู่ระหว่าง 0.214 – 0.583 ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบปกติของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก - หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรของโรงเรียน (X<sub>1</sub>) และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานของครู (X<sub>3</sub>) ส่งผลต่อผูกพันในองค์กรของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.622 มีอำนาจพยากรณ์ (R<sup>2</sup>) ได้ร้อยละ 38.70 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ 0.292 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้</p> <p><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Y}=2.116+0.370\chi%20_{1}+0.239\chi%20_{3}" alt="equation" /></p> <p><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Z}_{y}=0.508\chi%20_{1}+0.248\chi%20_{3}" alt="equation" /></p> ผาณิตา เมฆเคลื่อน พัชรี สุวรรณชาติ ภัทรปรียา ธรรมชัย ภัทรา ค้าโค รพีพัฒน์ ชูเมือง สถิรพร เชาว์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 1 3 22 33 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/914 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 2) ศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 3) ศึกษาความสัมพันธของปัจจัยที่ส่งผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 และ 4) สร้างสมการพยากรณปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3</p> <p>กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนเครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำนวน 99 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบมาตราสวนประมาณคา 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ คาเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยด้วยวิธี Enter</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทยสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบวา ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านครูผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ความ สัมพันธระหว่างปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน เครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 มีความสัมพันธทางบวกเป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าความสัมพันธอยู่ระหว่าง 0.576 – 0.718 4) ปัจจัยที่สงผลตอประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเครือข่ายโรงเรียนอำเภอนครไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต 3 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีจำนวน 2 ตัว ได้แก ด้านผู้บริหาร (X1) และด้านงบประมาณ (X4) ได้ร้อยละ 60.20 ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนดิบ และคะแนนมาตรฐานตามลำดับดังนี้</p> <p><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Y}=0.975+0.212\chi%20_{1}+0.344\chi%20_{4}" alt="equation" /></p> <p><img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\hat{Z}_{y}=0.261\chi%20_{1}+0.384\chi%20_{4}" alt="equation" /></p> <p> </p> <p> </p> อุมาพร พรหมอยู่ อรุณวรรณ พิมพ์สาร อัญชิษฐา ปราณีตพลารักษ์ อาจรีย์ อุดธรรมไจย เอื้อมพร วงษ์สมบูรณ์ สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-06 2024-12-06 1 3 34 46 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1255 <p>การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ระดับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช</p> <p>การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช จำนวน 684 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 252 คน ตามแนวคิดของทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (2) ระดับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านสถานภาพ ด้านระดับตำแหน่งงานและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยแรงจูงใจกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.410) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05</p> ทองร้อย พันธ์ยาง นพพล อัคฮาด Copyright (c) 2024 วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-17 2024-12-17 1 3 47 59