จริยธรรมของบรรณาธิการ (Editor)
 1. บรรณาธิการยึดมั่นหลักจริยธรรมสากลในการตีพิมพ์บทความในวารสาร และให้ความสำคัญกับการป้องกันผลประโยชน์
    ทับซ้อนระหว่างบรรณาธิการ เจ้าหน้าที่วารสาร ผู้นิพนธ์ ผู้ประเมินบทความ และสมาชิกกองบรรณาธิการ
2. บรรณาธิการมีหน้าที่จัดพิมพ์คำแนะนำที่ทันสมัยสำหรับการเตรียมบทความให้แก่ผู้นิพนธ์ตามที่บรรณาธิการคาดหวัง
3. บรรณาธิการสนับสนุนความถูกต้องทางวิชาการของบทความตีพิมพ์ในวารสาร โดย
    3.1 มีการดำเนินการคัดเลือกบทความที่มีคุณภาพเพื่อตีพิมพ์ในวารสาร โดยพิจารณาจากความสำคัญ ความใหม่ 
          ความชัดเจน และความสอดคล้องของเนื้อหากับนโยบายและขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ
    3.2 จัดให้มีกระบวนการพิจารณาประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความที่มีความเชี่ยวชาญต่อหัวข้อและเนื้อหาของ
          บทความ รวมถึงมีระบบการปกปิดเป็นความลับในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาประเมิน และมีระบบปกป้องข้อมูลส่วนตัว
          ของผู้ประเมินบทความ
    3.3 หากพบความไม่ถูกต้องเกิดขึ้นกับบทความวิชาการที่ตีพิมพ์ไปแล้ว รวมถึงมีประโยคที่นำไปสู่ความเข้าใจผิด หรือ
          เป็นรายงานที่บิดเบือนข้อเท็จจริง บรรณาธิการต้องแก้ไขทันทีและด้วยความชัดเจน
    3.4 หากพบการประพฤติทุจริตภายหลังการดำเนินการตรวจสอบแล้ว บรรณาธิการต้องดำเนินการเพิกถอนบทความนั้น
          ด้วยความชัดเจนที่จะสามารถพิสูจน์ได้ รวมถึงจัดทำประกาศการเพิกถอนให้แก่ผู้อ่าน และระบบฐานข้อมูลอื่นๆ 
          ให้ทราบด้วย
4. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบบทความในด้านการคัดลอกผลงานผู้อื่น (Plagiarism) อย่างเคร่งครัด
5. บรรณาธิการต้องไม่เปลี่ยนแปลงการตัดสินใจในการตอบรับบทความที่ถูกปฏิเสธการติพิมพ์ไปแล้ว และไม่กลับคำตัดสินใจ
    มาตีพิมพ์บทความที่บรรณาธิการคนก่อนตอบปฏิเสธไปแล้ว ยกเว้นมีการพิสูจน์ถึงปัญหาเกิดขึ้น
6. บรรณาธิการจัดเตรียมช่องทางให้ผู้นิพนธ์สามารถอุทธรณ์ได้ หากผู้นิพนธ์มีความคิดเห็นแตกต่างจากการตัดสินใจของ
    บรรณาธิการ รวมถึงให้ข้อชี้แจงหรือให้ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการตรวจสอบประเมินบทความ (peer review)
7. บรรณาธิการจัดเตรียมช่องทางการร้องเรียน และมีการตอบกลับคำร้องเรียนอย่างเร็วที่สุด
 
จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ (Reviewer)
 1. ผู้ประเมินบทความต้องไม่เปิดเผยข้อมูลในบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องในช่วงระยะเวลาของการประเมินบทความ
2. ผู้ประเมินบทความต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้นิพนธ์ที่กำลังพิจารณา
3. ผู้ประเมินบทความควรรับพิจารณาเฉพาะบทความที่ตนเองมีความเชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อน
    ต่อบทความที่กำลังพิจารณา
4. ผู้ประเมินควรตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความ หากพบว่ามีการคัดลอก เจตนาให้ข้อมูลเท็จ หรือปิดบังอำพราง 
    ควรแจ้งให้บรรณาธิการทราบ
 
จริยธรรมของผู้นิพนธ์ (Author)
 1. ผู้นิพนธ์ต้องไม่ตีพิมพ์บทความซ้ำซ้อน รวมถึงไม่นำต้นฉบับที่ยังอยู่ในกระบวนการประเมินของวารสารยื่นส่งวารสารอื่น
2. ผู้นิพนธ์ต้องไม่คัดลอกผลงานและข้อความของผู้อื่นมาทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า เป็นผลงานหรืองานเขียนของตนเอง 
    โดยต้องมีการอ้างอิงผลงานของผู้อื่น หากมีการนำผลงานนั้นมาใช้ในบทความของตนเอง
3. ผู้นิพนธ์ต้องให้ความสำคัญกับรูปแบบการเขียนบทความตามที่วารสารกำหนดไว้ โดยเฉพาะรูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่สร้างข้อมูลเท็จ หรือปลอมแปลง ตกแต่งข้อมูลและนำมาเขียนในบทความ
5. ผู้นิพนธ์ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัย (ถ้ามี) และผู้นิพนธ์ต้องระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (ถ้ามี)
6. ผู้นิพนธ์ต้องระบุเฉพาะชื่อผู้ร่วมทำงานในบทความนั้นเท่านั้น รวมถึงในกรณีที่งานวิจัยมีผู้ร่วมทำงานหลายคน ผู้นิพนธ์ 
    ต้องใส่ชื่อผู้ร่วมวิจัยทั้งหมด ไม่แอบอ้างเป็นงานวิจัยของตนเองแต่เพียงผู้เดียว 
7. ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งบรรณาธิการทันที หากพบความผิดพลาดในงานวิจัยที่ส่งผลต่อบทสรุปงานวิจัยของต้นฉบับที่อยู่ใน
    กระบวนการประเมิน หรือบทความที่ตีพิมพ์ไปแล้ว