ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษากับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษา และ 4) ค้นหาตัวแปรพยากรณ์ที่ดีและสร้างสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตสุพรรกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ จำนวน 181 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์พหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ ทุกด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ พบว่า มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.393 – 0.580 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์สูงที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และต่ำที่สุด คือ คุณภาพการสอนของครู และ 4) ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอนของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร (x2) ความพึงพอใจในการทำงานของครู (x5) และบรรยากาศโรงเรียน (X3) ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสหวิทยาเขตสุพรรณกัลยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.679 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 46.10 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน เท่ากับ 0.452 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา). กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน (พ.ศ. 2566 - 2570) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาพิษณุโลก อุตรดิตถ์.
ฉัตรกมล สมแตง. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสู่โรงเรียนมาตรฐานสากลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(10), 172-188.
ณรงค์ศักดิ์ นาคสมบูรณ์. (2561). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงและบรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนมาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
นฏกร ปั้นพุ่มโพธิ์, สมศรี ทองนุช และสุเมธ งามกนก. (2561). ปัจจัยที่สงผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 13(1), 81-96.
ปรมพร ทิพย์พรม. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาของโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
พิพัฒน์ ไผ่แก้ว และสถิรพร เชาวน์ชัย. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เพชรบูรณ์ เขต 3. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 4(1), 51-64.
เพ็ญพรรณ เครากระโทก. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
เยาวดี พันเพชรศรี. (2567). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชัยภูมิ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.
วัชรพงษ์ น่วมมะโน และกาญจนา บุญส่ง. (2558). ปัจจัยที่สงผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(1), 1120-1131.
วันเพ็ญ บุรีสูงเนิน. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. สำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักงานปลัด กระทรวงศึกิการ, https://www.bic.moe.go.th/images/stories/5Porobor._2542pdf.pdf.
อุมาพร สันตจิตร. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยในจังหวัดนครศรีธรรมราช [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Education administration: theory research and practice (6th ed.). McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308
Reid, K., David, H., & Peter, H. (1988). Towards the effective school. Basic Blackwell.