ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง

Main Article Content

สุวรรณรัตน์ รัชนิพนธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 118 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยการหยิบฉลากอย่างง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติอ้างอิง ได้แก่ สถิติไคว์แสควร์ การทดสอบของฟิสเชอร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ของตัวแปร


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยลักษณะสภาพแวดล้อมในการทำงานภาพรวมอยู่ในระดับสูง ( = 3.83, SD.= 0.34) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง คือ การรับรู้ต่อความสำเร็จในงาน การรับรู้ต่อความสามารถของตนเอง ความสัมพันธภาพในหน่วยงาน และการรับรู้ต่อระบบบริหาร ( = 4.12, 4.09, 4.01 และ 4.00, SD.= 0.60, 0.53, 0.37 และ 0.68) ส่วนลักษณะงานที่รับผิดชอบอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.96, SD.= 0.32) ความเหนื่อยล้าในการทำงานของบุคลากร พบว่า ส่วนใหญ่ไม่มีความเหนื่อยล้าในการทำงาน (ร้อยละ 52.54) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเหนื่อยล้าในการทำงานของบุคลากร ได้แก่ เพศ และระยะเวลาปฏิบัติงาน โดยมีความสัมพันธ์ระดับสูง (r=0.66, p= 0.042) ความสัมพันธภาพในหน่วยงาน มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำมาก (r=0.20, p= 0.032) การรับรู้ต่อความสำเร็จในงาน และการรับรู้ต่อความสามารถของตนเอง มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำ (r=0.27 และ 0.30; p= 0.003 และ 0.001)


จากผลการศึกษาจะพบว่าบุคลากรจะไม่มีความเหนื่อยล้ามากกว่าแต่ก็มีสัดส่วนไม่มากนัก ในขณะที่ลักษณะงานที่รับผิดชอบอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งอาจจะส่งผลให้บุคลากรมีความเหนื่อยล้ามากขึ้น ฉะนั้น4 คณะกรรมการเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอละอุ่นควรพิจารณางานที่รับผิดชอบให้ตรงกับความเชี่ยวชาญและบูรณาการงานเพื่อลดภาระในการรับผิดชอบ และป้องกันการเกิดความเหนื่อยล้า

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงสาธารณสุข, กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. (2563, มิถุนายน). รายงานข้อมูลบุคลากรด้านสาธารณสุข ประจำปี 2562. https://spd.moph.go.th/wp-content/uploads/2022/12/ healthbook62.pdf.

กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การประเมินความสุขของบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข (Happinometor) และการประเมินสุขภาวะองค์กร (Happy Organization Public Index: HPI). กองการเจ้าหน้าที่ กรมอนามัย, https://person.anamai.moph.go.th/th/pa413/download?id=104585&mid=37749&mkey=m_document&lang=th&did=30909.

เกศินี กิตติบาล, อารี ชีวเกษมสุข และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2564). การจัดการความเหนื่อยล้าจากการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 32(1), 121-136.

จามรี ณ บางช้าง. (2562). ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของแพทย์ประจำบ้านโรงพยาบาลราชวิถี. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย, 64(1), 61-76.

ชนิดา เพ็ชรศรี. (2566). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะเหนื่อยล้าในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลจะนะ จังหวัดสงขลา. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อมศึกษา, 8(3), 699-704.

ชัท เมืองโคตร. (2550). ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์การที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรสาธารณสุข ศูนย์สุขภาพชุมชนในจังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญเอื้อ โจว. (2553). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเหนื่อยหน่ายในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ: ศึกษากรณีวิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

พิศาล ถาวรวงษ์. (2564). ความเหนื่อยล้าในการทำงานของบุคลากรเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 35(1), 1-14.

โรงพยาบาลละอุ่น. (2566). แผนพัฒนาบุคลากรโรงพยาบาลละอุ่น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง.

วัฒนา ศรีวิลัย และกล้าหาญ ณ น่าน. (2564). ความเครียดและความเหนื่อยหน่ายในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อผลการปฏิบัติงานของพนักงาน กรณีศึกษา: บริษัท ไฟน์ เม็ททัล เทคโนโลยีส์ จำกัด (มหาชน). วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 7(2), 34-42.

สำนักงานสาธารณสุขอำเภอละอุ่น. (2566). รายงานประจำปี 2566 (6 เดือน). สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระนอง.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2552). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่:แนวคิดและทฤษฎี (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.

สุรีย์พันธ์ วรพงศธร. (2558). การวิจัยทางสุขศึกษา. มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

Bartz, A. E. (1999). Basic statistical concepts (4th ed.). Preentice–Hall.

Best, J. W. (1977). Research in Education (3nd ed.). Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Maslach, C. P., & Jackson, S. E. (1986). Maslach Burnout Inventory Manual (2nd ed.). Consulting Psychologists.

Maslach, C. P., & Leiter, M. (2016). Understanding the Burnout Experience: Recent Research and its Implications for Psychiatry. World Psy-chiatry, 15(2), 103-111.