การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์โดยวิธีการสอนแบบ SQ5R วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อสร้างและพัฒนาการใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 โรงเรียนวัดดอนเมือง (ทหารอากาศอุทิศ) สำนักงานเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง โดยวิธีสอนแบบ SQ5R 2) แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเชิงวิเคราะห์ เป็น แบบทดสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติที่ใช้ในทดสอบสมมติฐานคือทดสอบค่าที (t–test dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างและพัฒนาการใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้การอ่านเชิงวิเคราะห์จำนวน 5 แผน แผนละ 2 ชั่วโมง รวมทั้งสิ้น 10 ชั่วโมง ซึ่งความเหมาะสมของแผนการจัดการเรียนรู้นั้นจะต้องมีความสอดคล้องของสาระสำคัญ จุดประสงค์ การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการจัดการเรียนรู้ และการวัดผลและประเมินผล 2) การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R พบว่าคะแนนก่อนใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 15.03 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.95 และหลังใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R มีค่าเฉลี่ย () เท่ากับ 22.40 และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 2.84 สรุปได้ว่า ความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียน โดยใช้วิธีการสอนแบบ SQ5R สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). คู่มือการดำเนินงานอ่านออกเขียนได้ อ่านคล่อง และสื่อสารได้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กรุงเทพมหานคร. (2567). รายงานผลการตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2566. สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
ชลธิดา หงษ์เหม. (2560). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับแผนที่ความคิด. (ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต). นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ธีระพล แก้วคำจันทร์. (2564). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4 ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับผังกราฟิกกับวิธีการจัด การ เรียนรู้แบบปกติ. (การศึกษามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ระพิน ชูชื่น. (2560). บูรณาการสอนภาษาไทย. มหาวิทยาลัยบูรพา.
โรงเรียนวัดดอนเมือง(ทหารอากาศอุทิศ). (2566). งานทะเบียนวัดผล ปีการศึกษา 2566. กรุงเทพมหานคร:
วนิดา วันภักดี. (2562). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านเชิงวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ5R. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
วัชรี บูรณสิงห์ และนิรมล สตวุฒิ. (2542). การอ่านเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ด้านหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สายใจ ทองเนียม. (2560) . ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ชีเอ็ดยูเคชั่น
Adler and Van Doren. (1972). How to read a book. New York: Touchstone.
Burgess, T. (2016). What is SQ5R reading strategy. Retrieved 18, 2020, from https://www.quora.com/What-is- SQ5R-reading-strategy
Pauk, W. (2002). How to Study in College. Boston: Houghton Mifflin.
Parahita, S. W. (2017). The Implementation of SQ5R Technique in Improving the Students' Reading Ability at SMPN 8 Malang. Bachelor's Degree dissertation English Language Department Faculty of Teacher Training and Education University of Muhammadiyah Malang.
Radford University. (2018). The SQ5R Study Method. Retrieved September 19, 2018from https://www.radford.edu/content/harvey-knowledge-center/home/learning- guides/reading-tips.html