คำแนะนำผู้นิพนธ์บทความ

 1. การจัดเตรียมต้นฉบับบทความ

1.1      บทความวิจัย

          บทความวิจัยคือบทความที่ได้จากการทำวิจัยในสาขาวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับขอบข่ายเนื้อหาที่ทางวารสารเปิดรับ ซึ่งบทความวิจัยจะต้องประกอบด้วยส่วนประกอบเรียงลำดับดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้แต่งและสังกัด ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 350 คำ
  • คำสำคัญ 3-5 คำ
  • บทนำ เป็นส่วนของที่มาและความสำคัญของปัญหาการวิจัย ในส่วนนี้จะต้องเขียนแสดงการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเข้ามาในส่วนเดียวกันนี้เลย รวมถึงคำถามของการวิจัยด้วย
  • วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นส่วนเขียนแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของการทำวิจัย อาจจะเขียนโดยรวมหรือเขียนแยกเป็นข้อ ๆ ก็ได้
  • วิธีดำเนินการวิจัย ประกอบด้วยรูปแบบของการวิจัย การดำเนินการวิจัย เครื่องมือในการวิจัย กลุ่มประชากรและตัวอย่าง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสรุป และในส่วนนี้อาจจะเขียนกรอบแนวคิดของการวิจัยด้วย (ถ้ามี)
  • ผลการวิจัย แสดงผลการวิจัยตามที่ผู้วิจัยค้นพบ
  • อภิปรายผล เขียนอภิปรายผลการวิจัยให้ละเอียด นำเสนอถกเถียง โต้แย้งอย่างลุ่มลึกและครอบคลุม
  • สรุปผลการวิจัย สรุปผลการวิจัยอย่างครอบคลุมตามวัตถุประสงค์
  • ข้อเสนอแนะ และเขียนข้อเสนอแนะที่ได้จากการวิจัย
  • เอกสารอ้างอิง เขียนอ้างอิงท้ายเรื่องตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง เรียงตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง โดยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยจนครบแล้วค่อยตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

1.2      บทความวิชาการและบทความปริทรรศน์

          บทความวิชาการคือบทความที่เขียนขึ้นซึ่งได้มาจากประสบการณ์วิจัยอันเป็นเวลายาวนานของผู้วิจัย หรือเป็นบทความที่นำเสนอข้อถกเถียง แนวคิด หรือกรอบการศึกษาใหม่ ๆ ในวงการวิชาการ ส่วนบทความปริทรรศน์คือบทความที่เขียนขึ้นแสดงถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับประเด็นสำคัญของการวิจัยประเด็นใดประเด็นหนึ่งจากอดีตถึงปัจจุบัน รวบรวมแล้วนำเสนอเพื่อนำไปสู่ปัญหาใหม่ในการวิจัย โดยมีส่วนประกอบดังนี้

  • ชื่อเรื่อง ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • ชื่อผู้แต่งและสังกัด ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ
  • บทคัดย่อ ความยาวไม่เกิน 250 คำ
  • คำสำคัญ 3-5 คำ
  • บทนำ
  • เนื้อหา แสดงสาระสำคัญที่ต้องการนำเสนอตามสำดับ
  • บทสรุป
  • เอกสารอ้างอิง เขียนอ้างอิงท้ายเรื่องตามที่ปรากฏในเนื้อเรื่อง เรียงตามตัวอักษรชื่อผู้แต่ง โดยเอกสารอ้างอิงภาษาไทยจนครบแล้วค่อยตามด้วยเอกสารอ้างอิงภาษาอังกฤษ

2. ระบบการอ้างอิงและเอกสารอ้างอิงทางวิชาการพร้อมตัวอย่างประกอบ

          เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสาร หนังสือหรือข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตทั้งนี้ผู้เขียนบทความต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดก่อนส่งต้นฉบับผู้เขียนบทความควรตรวจสอบถึงความถูกต้อง ของการอ้างอิงเอกสาร เพื่อป้องกันความล่าช้าในการตีพิมพ์บทความ เนื่องจากบทความที่มีการอ้างอิงไม่ถูกต้องจะไม่ได้รับการส่งต่อเพื่อพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจนกว่าการอ้างอิงเอกสารจะได้รับการแก้ไขให้ถูกต้อง

          2.1      การอ้างอิงในเนื้อหาบทความ

                     รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA) ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้วงเล็บ เปิด-ปิด แล้วระบุชื่อ-นามสกุลของผู้เขียนและเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง กำกับท้ายเนื้อความที่ใต้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และเจ้าของบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นำมาอ้างอิงทั้งหมด โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสาร มีดังนี้  

                    อ้างอิงจากเอกสารภาษาไทย

1) พระไตรปิฎกและอรรถกถาให้อ้างชื่อคัมภีร์เล่มที่ข้อเครื่องหมายทวิภาค (:) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (พระไตรปิฎกภาษาไทย/20/12/50), (พระไตรปิฎกพร้อมอรรถกถาแปล/18/100)

2) ผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (เด่นพงษ์ แสนคำ, 2562)

3) ผู้แต่งสองคนให้อ้างชื่อของผู้แต่งสองคนเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่พิมพ์เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (บัวพันธ์ พรหมพักพิง และ สุวิทย์ ธีรศาศวัต, 2563) หากมีเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 รายการให้ใช้เครื่องหมายอัฒภาค (;) คั่นระหว่างรายการอ้างอิง เช่น (พระพรหมบัณฑิต ประยูรธมฺมจิตฺโต, 2550; ป.อ. ปยุตฺโต, 2560)

4) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างชื่อของผู้แต่งคนแรกเว้นวรรคหนึ่งครั้งเพิ่มคำว่า “และคณะ” เครื่องหมายจุลภาค (,) และเลขหน้าของเอกสารที่นำมาอ้างอิง เช่น (สังเวียน สาผาง และคณะ, 2558)

5) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงตามลำดับพยัญชนะตัวแรกของชื่อผู้แต่งเช่นเดียวกับลำดับการอ้างอิงในส่วนเอกสารอ้างอิง

6) กรณีอ้างอิงสื่อออนไลน์ อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) และใส่คำว่า “ออนไลน์) เช่น (หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช, 2562)

อ้างอิงจากเอกสารภาษาอังกฤษ

1) ถ้ามีผู้แต่งหนึ่งคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่ง เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และ หน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Rawls, 1999)

2) ถ้ามีผู้แต่งสองคนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งสองราย เครื่องหมายจุลภาค ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง เช่น (Barry & Larope, 2010) และให้ใช้เครื่องหมาย อัฒภาค (;) คั่นกลางระหว่างเอกสารที่นำมาอ้างอิงมากกว่า 1 เอกสาร เช่น (Rawls, 1999; Barry & Larope, 2010)

3) ถ้ามีผู้แต่งมากกว่า 2 คนให้อ้างนามสกุลของผู้แต่งรายแรกตามด้วย et al, ปีที่พิมพ์ และหน้าที่นำมาอ้างอิง (Rawls et al., 2008)

4) ให้เรียงลำดับการอ้างอิงชื่อผู้แต่ง

5) กรณีอ้างอิงสื่อออนไลน์ อ้างชื่อผู้แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) ตามด้วยปีที่แต่งเครื่องหมายจุลภาค (,) และใส่คำว่า “ออนไลน์) เช่น (Doyle, M. W., 2004)

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการพิมพ์รายการสำนักพิมพ์/โรงพิมพ์

กรณีเป็นสำนักพิมพ์หรือบริษัทให้คงไว้เฉพาะชื่อ ดังตัวอย่าง

1) บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด ใช้ นานมีบุ๊คส์

2) สำนักพิมพ์เทียนวรรณ ใช้ เทียนวรรณ

3) กรณีที่เป็นโรงพิมพ์ให้ใช้รูปแบบเต็ม เช่น โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

          2.2      เอกสารอ้างอิงท้ายบทความ

                     (1) พระไตรปิฎก อรรถกถา

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อพระไตรปิฎกอรรถกถา./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

(2) หนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อหนังสือ./(ครั้งที่พิมพ์)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์. 

ตัวอย่าง :

จำนงค์ ทองประเสริฐ. (2516). ประวัติพระพุทธศาสนาในเอเชียอาคเนย์. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: อภิธรรมมูลนิธิมหาธาตุวิทยาลัย.

Coady, D. (2012). What to believe now: Applying Epistemology to Contemporary Issues. Oxford: Blackwell.

(3) บทความในหนังสือ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ),/ชื่อเรื่อง./(เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ดำคง คงเดช. (2560). การสร้างความปรองดองในสังคมไทยด้วยหลักพุทธศาสนา ใน อนันต์ แจ่มชื่น (บรรณาธิการ), ธรรมโอสถกับการเยียวยาสังคม. (น. 112-125). กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์.

Greco, J. (1999). Introduction What is Epistemology?. In Greco, J. & Sosa, E. (Eds.). The Blackwell Guide to Epistemology. (pp. 1 – 32) Oxford: Blackwell.

(4) บทความจากวารสาร

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อวารสาร./ปีที่(ฉบับที่), /เลขหน้าแรก ที่ตีพิมพ์-เลขหน้าสุดท้ายที่ตีพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สมภาร พรมทา. (2539). มนุษย์กับการแสวงหาความรู้: ข้อเสนอจากพุทธปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติและบทบาทของความรู้. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา, 3(2), 5–28.

Hernon, P. (1995). Disinformation and misinformation through the Internet: Findings of an exploratory study. Government Information Quarterly, 12(2), 133-139.

(5) หนังสือแปล

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อเรื่องที่แปล/[ชื่อต้นฉบับ]/(ชื่อผู้แปล, ผู้แปล)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ปาร์กเกอร์, อาร์. บี. (2552). ศพคนดัง [High profile] (อิสริยา ชมภูผล, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: นกฮูก พับลิชชิ่ง.

บริกแฮม, อี. เอฟ., และฮุสตัน, เจ. เอฟ. (2544). การจัดการการเงิน [Fundamentals of financial management] (เริงรัก จำปาเงิน, ผู้แปลและเรียบเรียง). (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: บุ๊คเน็ท.

(6) บทความในสารานุกรม

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน ชื่อสารานุกรม,/(เล่มที่อ้าง, น. เลขหน้าที่อ้าง)./สถานที่พิมพ์: /สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

ไพฑูรย์  นามวิจิต. (2540). ช้าง ม้า วัว ควาย. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเขาวชน, (น. 200-215). กรุงเทพฯ: เสริมสร้างความรู้.

(7) หนังสือพิมพ์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(วันที่ เดือน ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ชื่อหนังสือพิมพ์,/เลขหน้า.

ตัวอย่าง :

อเนก พูลทรัพย์. (10 สิงหาคม 2560). ปัญหาการเมืองไทย. มติชน, น. 10.

(8) วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง

รูปแบบ :

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิทยานิพนธ์./(ชื่อปริญญา,/ชื่อมหาวิทยาลัย)

ตัวอย่าง:

อัญชลี ปิยปัญญาวงศ์. (2547). มโนทัศน์เรื่องเหตุการณ์อัศจรรย์ของเดวิด ฮูม. (อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

(9) รายงานการวิจัย

รูปแบบ:

ชื่อผู้เขียน./(ปีพิมพ์)./ชื่อวิจัย/(รายงานวิจัย)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์.

ตัวอย่าง :

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2558). สถานภาพการประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรองรับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.

(10) เอกสารการประชุมทางวิชาการ

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่พิมพ์)./ชื่อบทความ./ใน/ชื่อบรรณาธิการ(บรรณาธิการ หรือ Ed. หรือ Eds.),/ชื่อการประชุม/(เลขหน้า)./สถานที่พิมพ์:/สำนักพิมพ์หรือโรงพิมพ์.

ตัวอย่าง :

นัฏนนท์ เขียวขำ และธิดาทิพย์ ปานโรจน์. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความเคลื่อนไหวดัชนีราคาหลักทรัพย์ กลุ่มขนส่งและโลจิสติกส์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ม.อ. ตรัง วิจัย ประจำปี 2561 สาขาวิชาการบัญชี/การเงิน “วิจัยก้าวใหม่ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” (น. 59-68). ตรัง: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง.

Soutar, G., & Mazzarol, T. W. (1995). Gaining competitive advantage in education services exports: Forward integration and strategic alliances in a maturing market. In G. Tower (Ed.), Proceeding of the Academy of International Business Southeast Asia Regional Conference, Asia Pacific International Business: Regional integration and global competitiveness (pp. 85-110). Perth: Murdoch University.

(11) สัมภาษณ์

รูปแบบ:

ชื่อผู้ที่ได้รับการสัมภาษณ์./(ปี)./ตำแหน่ง./สัมภาษณ์./วัน เดือน.

ตัวอย่าง :

พระมหาวสันต์ ญาณเมธี, ดร.. (2558). เจ้าอาวาส วัดศรีศาสดา. สัมภาษณ์. 5 มีนาคม.

(12) สื่อออนไลน์

รูปแบบ :

ผู้แต่ง./(ปีที่เผยแพร่)./ชื่อบทความ./สืบค้นจาก แหล่งที่อยู่ไฟล์ (URL)

ตัวอย่าง :

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช. (2562). มิจฉาทิฏฐิ. สืบค้นจาก https://www.dhamma.com/download/micchaditthi.

Doyle, M. W. (2004). Liberal Internationalism:Peace, War and Democracy. Retrieved from http://www.nobelprize.org/nobel_prizes/themes/peace/doyle/index.html.