Journal of Integration Social Sciences and Development https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope)</strong></p> <p>Journal of Integration Social Sciences and Development <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2985-2137">ISSN : 2985-2137 (Online)</a> มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขารัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการ สาขาศึกษาศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong> 1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br /> 2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong>Journal of Integration Social Sciences and Development มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong> บทความวิจัย และบทความวิชาการ มีอัตราค่าตีพิมพ์ ดังนี้<br /> 1) บทความวิจัย และบทความวิชาการ (ภาษาไทย) บทความละ 4,000 บาท<br /> 2) บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ (ภาษาอังกฤษ) บทความละ 6,000 บาท<br /> โดยชำระค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์ภายหลังจากที่กองบรรณาธิการพิจารณาความสมบูรณ์ และความถูกต้องตามรูปแบบแล้ว และส่งผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ <strong>(เก็บค่าธรรมเนียมตีพิมพ์เมื่อเข้าสู่กระบวนการ Review)</strong> อนึ่ง การพิจารณารับบทความเพื่อลงตีพิมพ์หรือไม่ตีพิมพ์ อยู่ที่ดุลยพินิจของบรรณาธิการถือเป็นอันสิ้นสุด </p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) </li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:<br /></strong>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) e-mail: ajisd2435@gmail.com โทร. 080-7743578 ID Line : ajisd2435 (ดร.สมใจ มณีวงษ์: บรรณาธิการ)</p> <p><strong>สำหรับผู้แต่ง<br /></strong>เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1Au1mWZgrVjOZfKWf6MsTtI85aLuF7jEm/edit">https://docs.google.com/document/d/1Au1mWZgrVjOZfKWf6MsTtI85aLuF7jEm/edit</a> <br />เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/1FPO2h7RxD-S8BJp4ECAKMtJgpG4fztvj/edit">https://docs.google.com/document/d/1FPO2h7RxD-S8BJp4ECAKMtJgpG4fztvj/edit</a></p> สำนักงาน รดาเทรนนิ่ง แอนด์ ดิเวลลอปเมนท์ th-TH Journal of Integration Social Sciences and Development ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1743 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่มอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ด้านภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.980 ด้านประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ 0.987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .691 (R=.691) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 47 (AdjR2=.473)</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Y&nbsp; &nbsp;= 1.770 + .240<sub> X4 </sub>+ .188<sub>X3</sub> + .175<sub> X1</sub></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;Z&nbsp; = .305Z<sub>X4 </sub>+ .237Z<sub>X3 </sub>+ .208Z<sub>X1</sub></p> ทวิวัฒน์ น้อยบุดดี ศศิรดา แพงไทย Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 1 13 แนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาเพื่อลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนสำหรับเยาวชนไทยในระดับอุดมศึกษา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1746 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) ทำความเข้าใจเรื่องการลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน และ 3) ค้นหาแนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหาเพื่อลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี กลุ่มตัวอย่าง คือ (1) นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 50 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (2) นักศึกษาปริญญาตรี 545 คน เป็นการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบมีสัดส่วน (Proportion Stratified Sampling) การสุ่มแต่ละขั้นตอนจะใช้การสุ่มอย่างง่าย และ (3) อาจารย์ นักวิชาการอิสระที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน 8 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบอภิปรายกลุ่ม แบบประเมินความต้องการจำเป็น 8 ประเด็น ประเด็นละ 5 ข้อ รวม 40 ข้อ และแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง จำนวน 6 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการประเมินความต้องการจำเป็น และเชิงคุณภาพ ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis: CA) และการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis: TA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การลดการละเมิดสิทธิมนุษยชน 8 องค์ประกอบ คือ มาตรฐานความงาม ความแพร่หลายทางภาษา ความเท่าเทียมทางศาสนา ความเป็นกลางสำหรับเยาวชน ความเท่าเทียมทางเพศ ปัญหาด้านสุขภาพ สิทธิในการแต่งกาย และมลภาวะทางเสียง 2) องค์ประกอบที่ 7 สิทธิในการแต่งกาย มีความต้องการจำเป็นมากที่สุด (PNI<sub>modified</sub> = 0.099) รองลงมาคือ องค์ประกอบที่ 2 ความแพร่หลายทางภาษา (PNI<sub>modified</sub> = 0.0089) และ 3) แนวทางการบริหารจัดการและการแก้ปัญหา เน้นถึงเสรีภาพการแสดงออกที่สอดคล้องกับความเหมาะสมในสังคม ยอมรับความแตกต่างทางวัฒนธรรมและตัวตนของแต่ละบุคคล</p> นันทนา ชวศิริกุลฑล ปัทมา รูปสุวรรณกุล อัจศรา ประเสริฐสิน อนันต์ ธรรมชาลัย ฐิติรัตน์ รอดทอง Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 14 26 ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1747 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.998 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศเชิงนวัตกรรม ด้านการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ด้านการสร้างแรงบันดาลใจและการมีส่วนร่วม และด้านการติดตามและประเมินผลนวัตกรรม ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 71.80</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp; สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; Ŷ = 1.23 + 0.162<sub>X1</sub> + 0.716<sub>X2</sub> + .253<sub>X4</sub> + 0.515<sub>X6</sub></p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;Ẑ = 0.195<sub>Z1 </sub>+ 0.806<sub>Z2</sub> + 0.263<sub>Z4</sub> + 0.561<sub>Z5</sub></p> จิรา ด้นหวัง กุลจิรา รักษนคร Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 27 39 การพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยมโดยใช้สถานการณ์จำลองร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1748 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม โดยใช้สถานการณ์จำลอง ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 22 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน จำนวน 8 แผน 2) แบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม&nbsp; แบบแผนการวิจัย คือ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 2 วงจรปฏิบัติการ ได้แก่ วงจรปฏิบัติการที่ 1 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 - 4 วงจรปฏิบัติการที่ 2 แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 5 - 8 และแบบทดสอบวัดความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม แบบอัตนัยวงจรปฏิบัติการละ 5 ข้อ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า วงจรปฏิบัติการที่ 1 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 68.94 ในวงจรปฏิบัติการที่ 2 นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 83.38 &nbsp;ซึ่งแสดงถึงนักเรียนมีการพัฒนาความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยมสูงขึ้น เมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้สถานการณ์จำลอง ร่วมกับเกมมิฟิเคชันในแต่ละวงจรการปฏิบัติการ และพบว่าคะแนนเฉลี่ยความฉลาดรู้ด้านคณิตศาสตร์ เรื่อง ทศนิยม ผ่านเกณฑ์ระดับคุณภาพดีมากในวงจรการปฏิบัติการที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50</p> ปิยธิดา ผลานิสงค์ วรรณธิดา ยลวิลาศ Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 40 52 การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1749 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 41 คน โรงเรียนกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 14 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความสามารถทางภูมิศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลวิจัย พบกว่า 1) การพัฒนาและวิเคราะห์ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการพัฒนามีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.70 – 4.88 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.50/83.73 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรป&nbsp; มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50 3) ความสามารถทางภูมิศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50 และ 4) มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด</p> จิรวัฒน์ เข็มทอง ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์ Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 53 62 ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1750 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 224 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ด้านภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.985 ด้านประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ 0.807 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลในการบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ทั้งโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสารดิจิทัล และด้านการรู้ดิจิทัล ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 53.60 เป็นไปตามสมมติฐาน สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; Y&nbsp; = 1.770 + .240<sub> X4 </sub>+ .188<sub>X3</sub> + .175<sub> X1</sub></p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;Z&nbsp; = .323<sub>X1</sub> + .259<sub>X4</sub> + .202<sub>X3</sub></p> ลลิดา ไสยสัตย์ ศศิรดา แพงไทย Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 63 76 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1751 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ และ 2) ศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่ซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตาและตามความสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.849 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) อายุ อาชีพ และรายได้ของผู้บริโภคที่แตกต่างกัน มีการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีรายได้สูงมักให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์มากกว่าราคา ขณะที่กลุ่มที่มีรายได้ต่ำกว่ามีแนวโน้มพิจารณาด้านราคามากกว่า แต่ปัจจัยด้านเพศที่แตกต่างกันมีการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ไม่แตกต่างกัน 2) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารแมวสำเร็จรูปผ่านช่องทางออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุด ได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ รองลงมาคือ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาด ตามลำดับ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยระบุว่าผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพสูง ควบคู่ไปกับการกำหนดราคาที่เหมาะสม และขยายช่องทางการจัดจำหน่ายให้ครอบคลุมความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้ ควรมีการใช้กลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดที่ตรงกลุ่มเป้าหมายเพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน</p> พีระยุทธ คุ้มศักดิ์ พักตร์ประภา โพธิราชา วราภรณ์ ประทีปไพศาล Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 77 86 ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1752 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;การศึกษาบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาการเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการวิจัยพบว่า 1. การเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก &nbsp;โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3. การเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม (X<sub>2</sub>) ด้านภาวะผู้นำ (X<sub>3</sub>) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม (X<sub>1</sub>) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (X<sub>4</sub>) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.996 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 99.30 (R<sup>2</sup>= .993) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 0.240, 0.293, 0.353 และ 0.111 ตามลำดับ.</p> วรรณภา นันทะแสง Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 87 100 ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบบัญชีออนไลน์ของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1754 <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;This research aims to: 1) study the characteristics of small and medium-sized enterprises (SMEs) in Nonthaburi Province; 2) examine the effectiveness of online accounting system usage; and 3) investigate the factors affecting the effectiveness of online accounting system usage. This is a survey research using quantitative data collected through questionnaires from representatives of 385 SMEs in Nonthaburi Province. The statistical methods used include mean, standard deviation, and multiple regression analysis.</p> <p>&nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp; &nbsp;The research findings revealed that: 1) the overall characteristics of small and medium-sized enterprises (SMEs) in Nonthaburi Province were rated at a high level, the highest-rated factor was organizational leadership support, followed by personnel characteristics, technology, and organizational structure; 2) the overall effectiveness of online accounting system usage was also rated at a high level, the highest-rated aspect was the accuracy and timeliness of accounting processes, followed by the completeness and punctuality of financial reporting, the ability to audit and monitor results, and the efficiency of internal control; and 3) the factors influencing the effectiveness of online accounting system usage, ranked from highest to lowest impact, were organizational leadership support, personnel characteristics, technology, and organizational structure.</p> วิชุตา นาคเถื่อน จิตรวิภา เปรมจันทร์ สุวิมล พงษ์สีดา พีระสิทธิ์ คุณเลิศอาภรณ์ Copyright (c) 2025 2025-04-23 2025-04-23 5 1 101 111