Journal of Integration Social Sciences and Development https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD <p><strong>จุดมุ่งหมายและขอบเขต (</strong><strong>Aim and Scope)</strong></p> <p>Journal of Integration Social Sciences and Development <a href="https://portal.issn.org/resource/ISSN/2985-2137">ISSN : 2985-2137 (Online)</a> มีจุดมุ่งหมายเพื่อเผยแพร่บทความวิจัย และบทความวิชาการ ในสาขาที่เกี่ยวข้องด้านสังคมศาสตร์ ได้แก่ สาขารัฐศาสตร์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาการจัดการ สาขาศึกษาศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์ ปีละ 2 ฉบับ โดยทุกบทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน ทั้งนี้จะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อผู้นิพนธ์บทความและผู้นิพนธ์บทความไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความเช่นเดียวกัน (Double-Blind Peer Review) เปิดรับบทความทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>ประเภทของผลงานที่ตีพิมพ์ในวารสาร<br /></strong>1) บทความวิจัย (Research Article) เป็นบทความที่นำเสนอการค้นคว้าวิจัย เกี่ยวกับด้านสังคมศาสตร์ และรวมถึงสหวิทยาการเชิงประยุกต์ด้านสังคมศาสตร์<br />2) บทความวิชาการ (Academic Article) เป็นบทความวิเคราะห์ วิจารณ์หรือเสนอแนวคิดใหม่</p> <p><strong>กำหนดออกเผยแพร่วารสาร<br /></strong>Journal of Integration Social Sciences and Development มีกำหนดการเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ ดังนี้<br />- ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน<br />- ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม </p> <p><strong>อัตราค่าธรรมเนียมตีพิมพ์บทความ<br /></strong>เปิดรับบทความวิจัย และบทความวิชาการ <strong>โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์</strong></p> <p><strong>การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย บทความวิชาการ และบทวิจารณ์หนังสือ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้นในด้านคุณภาพของบทความ โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณ 5 วันทำการหากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน</li> <li>บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชานั้น พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน โดยใช้เวลาพิจารณาประมาณอย่างน้อย 20 วันทำการ</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ ภายในเวลา 3 วันทำการ หลังจากได้รับจากผู้ทรงคุณวุฒิครบทั้ง 2 ท่าน</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์ และระยะเวลาการแก้ไขไม่ควรเกิน 15 วันทำการ</li> </ol> <p><strong>เกณฑ์การพิจารณาบทความ</strong></p> <ol> <li>บทความวิจัย และบทความวิชาการ ทางกองบรรณาธิการวารสารจะพิจารณาเบื้องต้น ในด้านคุณภาพของบทความ และการจัดรูปแบบให้เป็นไปตามข้อกำหนดของวารสารฯ หากเห็นว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอจะไม่ดำเนินการต่อ หรืออาจส่งให้ปรับแก้ไขก่อน บทความที่พิจารณาแล้วเหมาะสม มีคุณภาพ จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกตามความเชี่ยวชาญของสาขาวิชา พิจารณากลั่นกรอง (Peer review) 2 ท่าน</li> <li>เมื่อผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณา ผลเป็นประการใดทางกองบรรณาธิการจะแจ้งให้ท่านทราบ</li> <li>ข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิท่านต้องปรับแก้ หากไม่ปรับแก้จะไม่ได้รับการตีพิมพ์</li> <li>เมื่อมีการปรับแก้เป็นไปตามผู้ทรงคุณวุฒิ กองบรรณาธิการจะตรวจสอบความสมบูรณ์เนื้อหาบทความให้เป็นไปตามรูปแบบของวารสาร และตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่ใช้ในบทความที่มีความคมชัดในการจัดพิมพ์ก่อนเผยแพร่บทความ</li> </ol> <p><strong>แนวทางการต่อติดประสานงานและมีความประสงค์ขอตีพิมพ์:<br /></strong>ประสานเจ้าหน้าที่วารสาร เพื่อทราบรายละเอียดเบื้องต้น (เช่น รอบการตีพิมพ์, หนังสือตอบรับการตีพิมพ์ ฯลฯ) e-mail: ajisd2435@gmail.com โทร. 093-3635858 (ผศ. ดร.ศศิรดา แพงไทย: บรรณาธิการ)</p> <p><strong>สำหรับผู้แต่ง<br /></strong>เทมเพลตบทความวิจัย <a href="https://docs.google.com/document/d/1Au1mWZgrVjOZfKWf6MsTtI85aLuF7jEm/edit">https://docs.google.com/document/d/1Au1mWZgrVjOZfKWf6MsTtI85aLuF7jEm/edit</a> <br />เทมเพลตบทความวิชาการ <a href="https://docs.google.com/document/d/1FPO2h7RxD-S8BJp4ECAKMtJgpG4fztvj/edit">https://docs.google.com/document/d/1FPO2h7RxD-S8BJp4ECAKMtJgpG4fztvj/edit</a></p> th-TH Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/21 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่มีประสิทธิผล ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and development) มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ คือ (1) ศึกษาข้อมูลโดยการศึกษาวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการจัดกิจกรรมทางกายของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี เอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมทางกาย (2) ยกร่างเอกสารหลักสูตร และเอกสารประกอบหลักสูตร (3) ตรวจสอบเอกสารหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่านและนำมาแก้ไขปรับปรุง (4) ทดลองใช้หลักสูตรกับนักเรียนอาสาสมัครจำนวน 30 คน ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี และทำการแก้ไขปรับปรุง (5) นำหลักสูตรไปใช้กับนักเรียนโรงเรียนมัธยมเทศบาล 6 นครอุดรธานี จำนวน 237 คน และ (6) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ที่มีประสิทธิผลมีลักษณะสำคัญ คือ 1.1) เอกสารหลักสูตรได้กำหนดเกณฑ์การผ่านหลักสูตรคือ นักเรียนต้องเข้าเรียนตามเวลาที่กำหนดอย่างน้อย 80 เปอร์เซ็นต์ และนักเรียนมีสมรรถภาพทางกายหลังเข้าร่วมกิจกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม 1.2) เอกสารประกอบหลักสูตร เป็นคู่มือหลักสูตรสำหรับครูผู้สอน เรื่องการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี ซึ่งเป็นเอกสารเพื่ออำนวยความสะดวกแก่ครูในการนำหลักสูตรไปใช้ให้บรรลุวัตถุประสงค์ 2) ผลการประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรการจัดกิจกรรมทางกายสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครอุดรธานี พบว่า นักเรียนสามารถผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีเวลาเรียนเกินร้อยละ 80 ทุกคน โดยเฉลี่ย 90.25 มีสมรรถภาพทางกายหลังเข้าร่วมกิจกรรมดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และนักเรียนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรอยู่ในระดับมาก</p> วิยะดา วรรณขันธ์ Copyright (c) 2023 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/21 Mon, 25 Mar 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/981 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาแรงจูงในการปฏิบัติงานของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา และครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 จำนวน 304 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า ผลการวิเคราะห์ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 มีความเชื่อมั่น .97 ผลการวิเคราะห์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีความเชื่อมั่น .97 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำในศตวรรษที่ 21 กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกระดับสูงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</p> สมใจ มณีวงษ์ Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/981 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดอุดรธานี https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/982 <p>การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 และ 2) เปรียบเทียบทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนอุดรธานี จำแนกตาม ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในวิทยาลัย สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนอุดรธานี จำนวน 156 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.976 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนอุดรธานี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ทักษะด้านการใช้ดิจิทัล 2) ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง ระดับการศึกษาและประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อทักษะการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดนอุดรธานี พบว่าโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ยกเว้นจำแนกตามประสบการณ์ทำงาน ด้านทักษะความคิดความรวบยอดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ศิริพร ชินนะ, โสภณ เบื้องบน, สรายุทธ อินตะนัย Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/982 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 การศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น เขต 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/983 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จําแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 จำนวน 309 คน โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสําเร็จรูป โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบค่าที (t-test for independent samples) และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (one-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากสูงที่สุดไปต่ำที่สุด ดังนี้ ด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์ ด้านการมีนโยบายและวิสัยทัศน์ ด้านการสร้างโอกาสทางการศึกษา ด้านการพัฒนาสู่ความเป็นมืออาชีพ ด้านการสร้างวัฒนธรรมการทำงาน และด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล ตามลําดับ 2) ข้าราชการครูที่มี ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นําดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 1 โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านประสบการณ์ทำงานพบว่าโดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนรายด้านพบว่า ด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผล แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> ภัทรานิษฐ์ พุฒิเรืองศักดิ์, ไพฑูรย์ แวววงศ์, สมใจ มณีวงษ์ Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/983 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700 ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือ ของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/984 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 191 คน โดยผู้บริหารเลือกแบบเจาะจง ครูผู้สอนใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.92 สภาพที่พึงประสงค์ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน รองลงมาคือด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม สภาพที่พึงประสงค์ ของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการเสริมประสบการณ์ทางวิชาชีพ มีรองลงมาคือด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ลำดับความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI Modified = 1.07) 2) ด้านการเสริมประสบการณ์วิชาชีพ (PNI Modified = 1.06) 3) ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม (PNI Modified = 0.23)</p> สินใจ ภูพันนา Copyright (c) 2024 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/984 Tue, 25 Jun 2024 00:00:00 +0700