การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา และ 2) เปรียบเทียบการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำแนกตามตำแหน่ง ประสบการณ์ในการทำงาน และระดับการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย จำนวน 291 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ของเชฟเฟ่ (Scheffe') ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ด้านการยอมให้ และ 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนที่มีตำแหน่ง และประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กมลนัทธ์ ศรีจ้อย. (2560). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดอุทัยธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
จตุรงค์ สุวรรณแสง, อัจฉรา นิยมาภา และวิสุทธิ์ วิจิตรพัชราภรณ์. (2564). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วารสารการบริหารและนวัตกรรมการศึกษา, 4(1), 1-19.
จิรกานต์ วงค์ลังกา. (2565). การบริหารความขัดแย้งภายในโรงเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ลำปาง ลำพูน. (การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยพะเยา).
นัฐพล หงษ์มาลา. (2564). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 3. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ).
น้ำเพชร ชัยชมภู. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในกลุ่มสหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยพะเยา).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพ ฯ: สุวีริยาสาส์น.
พัชราภรณ์ กุลบุตร. (2564). การจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
วิจิตร วรุตบางกูร. (2546). ศิลปศาสตร์น่ารู้สำหรับผู้นำ. กรุงเทพฯ: รวมสาส์น.
วิชานนท์ เทียมทะนง. (2564). พฤติกรรมการบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขต 32. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย. (2565). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. หนองคาย: กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาหนองคาย.
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2540). ความขัดแย้งการบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: เลิฟ แอนด์ ลิพเพรส.
Blake, R., & Mouton, J. (1964). The Managerial Grid: The Key to Leadership Excellence. Houston, TX: Gulf Publishing Company.
Filley, A. C. (1975). Interpersonal Conflict Resolution. Glenview, Illinois: Scott, Foresman.
Howat, G., & London, M. (1980). Attributions of conflict management strategies in supervisor–subordinate dyads. Journal of Applied Psychology, 65(2), 172.
Simon, H., & March, J. (2015). Administrative behavior and organizations. In Organizational Behavior 2 (pp. 41-59). New York: Routledge.
Thomas, K. W. (2008). Thomas-kilmann conflict mode. Retrieved from https://lig360.com/wp-content/uploads/2022/09/Conflict-Styles-Assessment.pdf.