การบริหารจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ สหวิทยาเขตบัวบาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู

Main Article Content

อาทิตย์ สีพาลา
อดิศร บุญศรีเมือง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสหวิทยาเขตบัวบาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู 2) เพื่อเปรียบเทียบแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสหวิทยาเขตบัวบาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ตำแหน่ง และวุฒิการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สหวิทยาเขตบัวบาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู จำนวน 198 คน โดยใช้ตารางเทียบหาขนาดกลุ่มตัวอย่างของเครจซี่และมอร์แกน และการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1) การบริหารจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่วิทยาเขตบัวบาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับมากไปน้อย ดังนี้ ด้านการประเมินผลในการศึกษาแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการรับฟังเสียงนักเรียนสะท้อนจากครูผู้ปกครองและชุมชน ด้านการพัฒนาครู 2) ผลการเปรียบเทียบแนวทางการบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของสหวิทยาเขตบัวบาน พบว่า โดยรวมและรายด้าน จำแนกตามตำแหน่งในการปฏิบัติงาน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรคติดต่อ. (2563). รายงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor2//files/รายงานประจำปี2563.pdf.

คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล. (2563). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2563. สืบค้นจาก https://www.rama.mahidol.ac.th/cme/th/result63.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์ โปรเกรสซิฟ.

ณัฐพัชร์ บุญเกตุ. (2564). การบริหารการจัดการเรียนรู้ในยุคฐานวิถีชีวิตใหม่ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2. Journal of Roi Kaensarn Academi, 6(8), 69-80.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พระมหาชนะชัย มงฺคโล, พระครูโอภาสนนทกิตติ์ และพระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน. (2565). แนวทางการจัดการเรียนการสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมสนามหลวงตามหลักจักร 4 ยุคฐานวิถีชีวิตใหม่จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 9(2), 34-44.

พัชราภรณ์ ดวงชื่น. (2563). การบริหารจัดการศึกษารับความปกติใหม่หลังวิกฤตโควิด-19. วารสารศิลปะการจัดการ, 4(3), 783-795

มติชนออนไลน์. (2563). ครม.เห็นชอบปรับเปิดภาคเรียนแรก ให้สถานศึกษาเลื่อนเปิดเทอม 1 ก.ค.. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_2127445.

วิทยา วาโย, อภิรดี เจริญนุกูล, ฉัตรสุดา กานกายันต์ และจรรยา คนใหญ่. (2563). การเรียนการสอนแบบออนไลน์ภายใต้สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 : แนวคิดและการประยุกต์ใช้จัดการเรียนการสอน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9 : วารสารส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม, 14(34), 285-298.

ศธ. 360 องศา. (2563). ศธ.สั่งสถานศึกษาทั่วประเทศทั้งรัฐและเอาชน ปิดเรียนด้วยเหตุพิเศษ ป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2020/03/17/ศธ-สั่งสถานศึกษาทั่วประเทศ/.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู. (2565). ข้อมูลบุคลากร 2565. สืบค้นจาก https://web.sesao19.go.th/web/?cat=1.

สำนักงานคณะกรรมการขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

Breslow, L., Pritchard, D., DeBoer, J., Stump, G., Ho, A., & Seaton, D. (2013). Studying Learning in the Worldwide Classroom Research into edX’s First MOOC. Research & Practice in Assessment, 8(summer), 13-25.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement, 30(3), 607-610

Matthews, D., & Schrum, L. (2003). High-speed Internet use and academic gratifications in the college residence. Internet and Higher Education, 6(2), 125-144.