การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี

Main Article Content

กรกุลผลทอง นามปักใต้

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 335 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของภาวะผู้นำแบบบารมีของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานีในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และดัชนีความต้องการจำเป็นโดยรวม 0.45 (PNIModified = 0.45)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ วัฒนาวิโส. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำกับความพึงพอใจในงานและพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ความกล้า: ชัยชนะสู่ความสำเร็จ. สืบค้นจาก https://bit.ly/2qcGlkm.

เตือนใจ สุนุกุล. (2562). ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).

ธีรวีร์ แพบัว. (2564). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมาตรฐานสากลสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 8(1), 55-68.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. (2563). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. อุดรธานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี.

สุเทพ พงศ์ศรีวัฒน์. (2545). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎีและปฏิบัติ. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

อิทธิศักดิ์ ศิริจันทร์. (2562). ทักษะการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 13(2), 136–144.

Krume, N. (2015). Charismatic leadership and power: using the power of charisma for better leadership in the enterprises. Journal of Process Management and New Technologies, 3(2), 18–27.

Mumford, M. D., Zaccaro, S. J., Harding, A. K., Jacobs, T. O., & Fleishman, E. A. (2014). Stogdill's leadership theory: A legacy for the 21st century. The Leadership Quarterly, 25(1), 161-170.

Ozgenel, M. (2020). The role of charismatic leader in school culture. Eurasian Journal of Educational Research, 20(86), 85-114.

Piscione, D. P. (2014). The risk factor: Why every organization needs big bets, bold characters, and the occasional spectacular failure. New York: St. Martin's Press.