การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง โจทย์ปัญหาการบวก การลบ การคูณ และการหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนกับหลังการพัฒนา และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6โรงเรียนบ้านป่างิ้วหนองฮี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2 อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 3) แบบทดสอบย่อยท้ายวงจร จำนวน 3 ชุดๆ ละ 10 ข้อ 4) แบบบันทึกการมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติสรุปอ้างอิง ได้แก่ สถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน และ สถิติที กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียวเทียบกับเกณฑ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลศึกษาปัญหาและความคาดหวังเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา พบว่า คือ ปัญหาด้านการเรียนของนักเรียน ปัญหาด้านพฤติกรรมการเรียนของนักเรียน ปัญหาที่เกิดจากครูผู้สอน 2) ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาที่เกิดจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง พบว่า (1) ครูและผู้ปกครองร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาทั้งที่โรงเรียนและที่บ้าน (2) การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ควรมีการนำเข้าสู่บทเรียน มีสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสม แบบฝึกทักษะและแบบบันทึกต่างๆ (3) ครูผู้สอนดำเนินการจัด การเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ ให้นักเรียนทำใบงานเป็นกลุ่ม และนำแบบฝึกทักษะไปทำเป็นการบ้าน (4) ผู้ปกครองให้คำแนะนำปรับปรุงแก้ไขประเมินผลการทำแบบฝึกทักษะของนักเรียน (5) สอนซ่อมเสริม และ (6) รูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อน 3) ผลการพัฒนาการเกี่ยวกับการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมหลังการพัฒนามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่าก่อนการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Article Details
References
กระทวงศึกษาธิการ. (2536). คู่มือครูคณิตศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กระทวงศึกษาธิการ. (2551). การวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จันทร์สุดา คำประเสริฐ. (2553). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เรื่อง การหารทศนิยม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
จิตรา แก้วชัย และหล้า ภวภูตานนท์. (2553). การศึกษาทักษะการแก้โจทย์ปัญหา เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ใช้รูปแบบการสอนตามแนวคิดทฤษฏีคอนสรัคติวิสต์ โดยเน้นขั้นตอนการแก้ปัญหาของโพลยา. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษมหาวิทยาลัยขอนแก่น, 4(2), 39-50.
ฉวีวรรณ สายทอง. (2549). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี).
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2537). เรื่องน่ารู้สำหรับครูคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีริยาสาส์น.
พัฒน์นรี ศิริวารินทร์. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาและการคิดวิเคราะห์ เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
ภัทราพร เกษสังข์. (2552). การวิจัยเชิงปฏิบัติการ. เลย: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
โรงเรียนบ้านป่างิ้วหนองฮี. (2559). รายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน. ขอนแก่น: โรงเรียนบ้านป่างิ้วหนองฮี.
สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2548). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 2). มหาสารคาม: ภาควิชาวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมปอง พรหมพื้น. (2543). การพัฒนาความสามารถทางการเรียนการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์โดยเน้นการใช้ประสบการณ์ทางภาษาและการร่วมมือกันเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สมวงษ์ แปลงประสพโชค. (2545). การให้เหตุผล. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: Learn and Play MATHGROUP.
สมาคมคณิตศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2538). การพัฒนาทักษะการคิดคำนวณของนักเรียนระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). แนวทางการประเมินตามสภาพที่แท้จริง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
โสมภิลัย สุวรรณ์. (2554). การพัฒนาความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเศษส่วน โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอนุบาลลำพูน. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
อธิภัทร ถามะณีศรี. (2554). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง โจทย์ปัญหาเศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
Wierma, W. (1991). Research methods in education. (5th ed.). Boston Massachusetts: Allyn and Bacon.