ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประสิทธิผลของสถานศึกษา 3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและข้าราชการครู จำนวน 327 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครซี่มอร์แกน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ด้านภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.980 ด้านประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ 0.987 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู มีความสัมพันธ์กันในทางบวกระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู ได้แก่ ด้านการเป็นแบบอย่างที่ดี ด้านการเผยแพร่วิสัยทัศน์ และด้านการสร้างวิสัยทัศน์ ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ .691 (R=.691) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 47 (AdjR2=.473)
สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ
Y = 1.770 + .240 X4 + .188X3 + .175 X1
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ
Z = .305ZX4 + .237ZX3 + .208ZX1
Article Details
References
ซอบารียะห์ เจ๊ะแว. (2566). แรงจูงใจในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
ธนภัทร มั่นคง. (2564). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 15(2), 45-58.
ปิยะดา สุขสมบูรณ์. (2564). ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาในเขตภาคกลาง. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 89-103.
วัชรินทร์ ต่อชีพ. (2567). ภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
วรรณวิสา พัฒนศิลป์. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์กับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัด ชลบุรี. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยบูรพา, 10(2), 167-182.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2561-2580 : ยุทธศาสตร์การพัฒนาและ เสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ในทุกมิติและในทุกช่วงวัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2565). องค์ประกอบของประสิทธิผลของสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566, กุมภาพันธ์ 3). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู กำลังจะถูกสร้างสรรค์ให้เป็น “เมืองเลยลำภู” ที่สมบูรณ์แบบในอีก 3 ปี ข้างหน้า. สืบค้นจาก https://www.obec.go.th/archives/768583.
อรทัย สุวรรณรัตน์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือ. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Chen, X., & Williams, D. (2023). The impact of visionary leadership on school management effectiveness. Journal of Educational Leadership and Policy,45.
Leithwood, K., Harris, A., & Hopkins, D. (2020). Characteristics of effective schools: A synthesis of recent research. School Leadership & Management, 40(3-4), 1-23.
Nanus, B. (1992). Visionary Leadership: Creating a Compelling Sense of Direction for Your Organization. San Francisco: Jossey-Bass.
Wilson, K. B., & Roberts, S. M. (2023). The Role Model Effect: How Visionary Leadership Influences School Performance. Journal of Educational Management and Leadership, 42(2), 156-172.