ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก - หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1

Main Article Content

ผาณิตา เมฆเคลื่อน
พัชรี สุวรรณชาติ
ภัทรปรียา ธรรมชัย
ภัทรา ค้าโค
รพีพัฒน์ ชูเมือง
สถิรพร เชาว์ชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความผูกพันในองค์กรของครู 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู และ 4) ศึกษาตัวแปรพยากรณ์และสร้างสมการพยากรณ์ความผูกพันในองค์กรของครู


กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารและครู จำนวน 118 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกนได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก – หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียรสัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ


ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความผูกพันในองค์การของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครู อยู่ระหว่าง 0.214 – 0.583 ผลการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบปกติของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก - หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พบว่า ปัจจัยด้านบรรยากาศองค์กรของโรงเรียน (X1) และปัจจัยด้านแรงจูงใจในการทำงานของครู (X3) ส่งผลต่อผูกพันในองค์กรของครู โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.622 มีอำนาจพยากรณ์ (R2) ได้ร้อยละ 38.70 มีค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานเท่ากับ 0.292 ซึ่งสามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานตามลำดับ ดังนี้


equation


equation

Article Details

How to Cite
เมฆเคลื่อน ผ., สุวรรณชาติ พ., ธรรมชัย ภ., ค้าโค ภ., ชูเมือง ร., & เชาว์ชัย ส. (2024). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของครูกลุ่ม 10 บึงกอก - หนองกุลา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 1. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(3), 22–33. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/929
บท
บทความวิจัย

References

กมลาลักษ์ วงศ์ศรีเผือก และดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดอุดรธานี. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัย ขอนแก่น, 12(4), 33-43.

กมลพร ดีประทีป และธีระดา ภิญโญ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์กรของข้าราชการครู ในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 17(2), 179-187.

กฤตภาคิน มิ่งโสภา, บุษกร วัฒนบุตร และวิโรชน์ หมื่นเทพ. (2566). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง, 12(3), 31-50.

ชาคริต ศรีสกุล. (2560). ตัวแบบสมการโครงสร้างปัจจัยด้านบรรยากาศในองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานโรงแรมในเครือดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนลในเขตกรุงเทพมหานคร. WMS Journal of Management, 7(Special issue), 156-166.

พลอยบุษรา บุญญาพิทักษ์. (2564). คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรในโรงเรียนนายเรืออากาศ นวมินทกษัตริยาธิราช. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(2), 145-161.

วรวัจน์ สารถวิล, โสภนา สุดสมบูรณ์ และกุลชลี จงเจริญ. (2565). ปัจจัยคัดสรรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธร, 9(2), 177-189.

วราภรณ์ ศรีวงษ์ และจุรีวัลย์ ภักดีวุฒิ. (2565). บรรยากาศองค์กรที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์กรของเจ้าหน้าที่สังกัดสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) ในเขตภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(6), 110-124.

ศุภวรรณ ช่อผกา. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันองค์การของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนงค์ศิริ โรจนโสดม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อัจจิมา เสนานิวาส และสรัญณี อุเส็นยาง. (2565). แรงจูงใจในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากร. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(1), 29-40.

Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. A. (1993). Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three-component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 78(4), 538-551. https://doi.org/10.1037/0021-9010.78.4.538

Porter, L. W., & Lawler III, E. E. (1968). Managerial Attitudes and Performance. Irwin.

Steers, R. M. (1977). Antecedents and outcomes of organizational commitment. Administrative Science Quarterly, 22(1), 46-56. https://doi.org/10.2307/2391745