ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

นันทพร เรืองสวัสดิ์
เอกพล กาละดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน  2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย


การศึกษาเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ศึกษาจากตัวแทนครัวเรือนอายุ 18 ปีขึ้นไปที่อาศัยในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านสวน จำนวน 138 คน จากทั้งหมด 1,720 ครัวเรือน จากการกำหนดขนาดตัวอย่างด้วยสูตรประมาณค่าเฉลี่ยประชากร และสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นด้วยการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคจากแบบสอบถามทั้งฉบับ มีค่าเท่ากับ 0.74 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ


ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 66.67 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 54.14 ปี (S.D.=12.87) ประกอบอาชีพค้าขายธุรกิจส่วนตัว ร้อยละ 33.33 ด้านปัจจัยนำมีความรู้เรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ( = 9.67, S.D.=0.84) ทัศนคติต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับดี ( = 4.48, S.D.=0.46) การรับรู้ถึงประโยชน์และผลกระทบการลดปริมาณขยะมูลฝอยอยู่ในระดับสูง ( = 4.99, S.D.=0.09) ปัจจัยเอื้อต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ( = 8.91, S.D. = 0.92) ปัจจัยเสริมต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.66, S.D.=0.67) และพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ( = 3.83, S.D.=0.47)  และ 2) เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรอื่นๆ แล้วพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอย ในครัวเรือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือ ระดับการศึกษา ความรู้เรื่องการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน ทัศนคติต่อการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนและปัจจัยสริมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน สมการถดถอยสามารถทำนายพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือนได้ร้อยละ 51.60

Article Details

How to Cite
เรืองสวัสดิ์ น., & กาละดี เ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยในครัวเรือน เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(2), 31–50. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/759
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ, สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2563, 2 มิถุนายน). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2556. กรมควบคุมมลพิษ, https://shorturl.asia/mVD2g.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กรมคุวบคุมมลพิษ, กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย. (2566, 11 เมษายน). รายงานสถานการณ์สถานที่กำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2565. กรมควบคุมมลพิษ, https://www.pcd.go.th/publication/29509.

ระเบียบ ภูผา. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน = CBM : Community Based Solid Waste Management). กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

จตุพร ไกรกิจราษฎร์ และโชติ บดีรัฐ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคัดแยกขยะมูลฝอยในเขตพื้นที่ตำบลไกรนอก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(7), 275-287. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/JRKSA/article/view/255192

จักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ, บรรณกร เสือสิงห์, วัฒนศักดิ์ จันทร์แปลง, วิเชียร พุทธภูมิ และบุญชนัฏฐา พงษ์ปรีชา. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการจัดการขยะในครัวเรือนของแม่บ้านในอำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 20(1), 203-212. https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/182737/132963

ฉัตรนภา สนองบุญ. (2563). ผลของโปรแกรมสร้างแรงจูงใจในการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือน ของประชาชน ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. Naresuan University Library. https://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/1781/3/61060737.pdf

เฉลิมชาติ แสไพศาล. (2556). การศึกษาพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยในชุมชน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลแชะ อำเภอครบุรี จังหวัดนครราชสีมา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/5125

ชัยวิชิต พลหลา. (2559). แนวทางการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. ห้องสมุดสัญญา ธรรมศักดิ์. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2016/TU_2016_5803010205_5464_5055.pdf

ดิษฐพล ใจซื่อ, เรณุวัฒน์ โคตรพัฒน์, ณฐพร คำศิริรักษ์, สัมฤทธิ์ ขวัญโพน, อาภรณ์รัตน์ เนาวะดี และธรรวรา ตันติกุลวัฒนกิจ. (2560).สถานการณ์ขยะและการจัดการขยะที่ต้นทางในชุมชน อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม. วารสารโรงพยาบาลมหาสารคาม, 14(3). 38-46. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/MKHJ/article/view/199106/138861

ทศวร อาภรณ์พงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการขยะของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนางรอง อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. คลังปัญญามหาวิทยาลัยสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/bitstream/123456789/7987/2/ Fulltext.pdf

ธนกร สันติธรรมากร และณัฐกฤตา ศิริโสภณ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยของนิสิตในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี), 14(27). 70-82. https://ph02.tci-thaijo.org/index.php/swujournal/article/view/246967

นฤนาท ยืนยง และพิชชานาถ เงินดีเจริญ. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของตำบลสำพะเนียง อำเภอโนนแดง จังหวัดนครราชสีมา. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 12(2). 279-297. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/neuarj/article/ view/254682

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2565). การบริหารจัดการขยะมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในประเทศ ไทย. วารสารสิ่งแวดล้อม, 26(1). 1-7. http://www.ej.eric.chula.ac.th/content/6141/331

นุชประภา โมกข์ศาสตร์. (2565, 2 สิงหาคม). ปัญหามลพิษจากขยะมูลฝอยและข้อเสนอเชิงนโยบาย. ศูนย์นโยบายเพื่ออนาคต. Think Forward Center, https://think.moveforwardparty.org/article/ environment-and-resources/2922/.

ปัญจะ หัตตะโสภา. (2558). ผลการเข้าร่วมโปรแกรม 5r ต่อความรู้และพฤติกรรมการจัดการขยะมูลฝอยครัวเรือนของประชาชนในตำบลพนมสารคาม อำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์]. THESISRRU ราชภัฏราชนครินทร์. http://thesis.rru.ac.th/files/pdf/554_2016_06_23_110115.pdf

มธุรส บุญติ๊บ, สามารถ ใจเตี้ย และสิวลี รัตนปัญญา. (2565). ผลกระทบสุขภาพจากการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน กรณีศึกษาเทศบาลตำบลเมืองยาว อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง. วารสารสาธารณสุขล้านนา, 18(2). 77-90. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/LPHJ/article/view/259405

มโนลี ศรีเปารยะ เพ็ญพงษ์, ศราวุธ ทองเนื้อห้า และสินีนาท โชคดําเกิง. (27 มีนาคม, 2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการขยะมูลฝอยในครัวเรือน กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตําบลคลองประสงค์ อําเภอเมือง จังหวัดกระบี่ [Paper]. การประชุมวิชาการระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย” ครั้งที่ 10, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.

มาลัย เอี่ยมจำเริญ. (2557). การบริหารจัดการขยะมูลฝอย ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลบางโฉลง อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 8(15). 21-27. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/56999

ศราวุฒิ ทับผดุง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการลดปริมาณขยะมูลฝอยครัวเรือนในเขต องค์การบริหารส่วนตำบลที่ไม่มีการบริหารจัดการขยะมูลฝอย อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/bitstream/123456789/ 2567/3/61062205.pdf.

ศรินทร์ทิพย์ บุญจันทร์ และจักรพันธ์ เพ็ชรภูมิ. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการคัดแยกขยะของแม่บ้าน ในตำบลบึงพระ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(1). 180-190. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/ JournalGradVRU/article/view/119491/91364

สุทธิ์ บุญโท และพีรญา อึ้งอุดรภักดี. (15 มกราคม, 2559). ประสิทธิผลการจัดการปริมาณขยะชุมชนจากการใช้หลัก 5 Rs. กรณีศึกษาตำบลทุ่งทราย จังหวัดกำแพงเพชร [Paper]. The National and International Graduate Research Conference 2016, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุทิน ชนะบุญ. (2560). สถิติและการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเบื้องต้น. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น.

อมร อภิสิทธิ์อมร. (2561). พฤติกรรมและการรับรู้ของประชาชนในการจัดการขยะครัวเรือนกรณีศึกษาคอนโดมิเนียม ในเขตกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Choon, S. W., Tan, S. H., & Chong, L. L. (2017). The perception of households about solid waste management issues in Malaysia. Environment, Development and Sustainability, 19, 1685-1700. https://doi.org/10.1007/s10668-016-9821-8

Haji Ali, N. E., & Siong, H. C. (2016). Social Factors Influencing Household Solid Waste Minimisation. MATEC Web of Conferences, 66, 8. https://doi.org/10.1051/matecconf/20166600048

Wayne, W. D. (1995). Biostatistics: A Foundation of Analysis in the Health Sciences (6 ed.). John Wiley & Sons.

Garbage Collection. (n.d). Global Garbage Crisis and High Tech Solutions. evreka, https://evreka.co/blog/global-garbage-crisis-and-high-tech-solutions/.