อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลังการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ

Main Article Content

มนันยา ละภูเขียว
กัญญาพร สุขวาสนะ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาอุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลังการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา 2)เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ  ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ  ก่อนและหลังการปฏิบัติตามแนวทาง


ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พยาบาลวิชาชีพ 11 คน และผู้ป่วยที่พักรักษาตัว 45 คน โดยทำการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา และ 2) แบบบันทึกการสังเกตการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพ ตรวจสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67-1.00  มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคเท่ากับ 0.81 วิเคราะห์โดยใช้ด้วยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติวิลคอกซันไซน์แรงคเทส


ผลการวิจัยพบว่า หลังการใช้แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของพยาบาลวิชาชีพ มีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติตามแนวทางสูงกว่าก่อนปฏิบัติตามแนวทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 (p = 0.004) และไม่พบอุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลังการใช้แนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา  โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ ดังนั้น ควรนำแนวทางปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาของผู้ป่วยอายุรกรรมหญิงไปใช้ ณ หอผู้ป่วยอื่นของในโรงพยาบาลเพื่อพัฒนาให้เป็นแนวทางของโรงพยาบาลต่อไป

Article Details

How to Cite
ละภูเขียว ม., & สุขวาสนะ ก. (2024). อุบัติการณ์การติดเชื้อแบคทีเรียดื้อยาหลังการปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยา ในหอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(2), 68–80. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/727
บท
บทความวิจัย

References

กำธร มาลาธรรม. (2561). หลักการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. หน่วยโรคติดเชื้อภาควิชาอายุรศารสตร์.

ทองเปลว ชมจันทร์ และประภาพรรณ สิงโต. (2565). การติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพหลายขนานในผู้ป่วยแผนกอายุรกรรม. APHEIT Journal of Nursing and Health, 4(3), 1-16. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ajnh/article/view/2827/2239

ธมลวรรณ คณานิตย์, ประจักร บัวผัน และชลการ ทรงศรี. (2564). การพัฒนาแนวทางการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพโรงพยาบาลเพ็ญ. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลอุดรธานี, 29(2), 232-248. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/udhhosmj/article/view/253269/172199

พรพิมล อรรถพรกุศล, พรนภา เอี่ยมลออ, จิราภรณ์ คุ้มศรี, สินจัย เขื่อนเพชร, นิภาพร ช่างเสนา และนัยนา วัฒนานุกูล. (2564). ผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ โรงพยาบาลรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(3), 1-15. https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ajnh/article/view/2685/2096

พันธ์ทิพย์ คงศรี, รัชนี แท้วิรุฬห์, สุวิมล ชูแก้ว และบุษบา รักษานาม. (2566). สถานการณ์การติดเชื้อ แนวโน้มของยาต้านจุลชีพที่ไวต่อเชื้อและแนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อดื้อยาสำหรับบุคลากรทางการพยาบาลโรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง. วารสารศาสตร์สุขภาพและการศึกษา, 3(2), 62-78. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/JHSP/article/view/259247/62-78

มาลีวรรณ เกษตรทัต, ศศิประภา ตันสุวัฒน์ และศิรินันท์ ยิ้มโกศล. (2566). การพัฒนาแนวปฏิบัติทาง การพยาบาลในการควบคุมการแพร่กระจายเชื้อดื้อยา ในโรงพยาบาลลำพูน. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมล้านนา, 13, 17-30. https://he01.tci-thaijo.org/index.php/lannaHealth/article/view/261646/176673

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. (2565a). รายงานการเฝ้าระวังการติดเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ 2563-2565. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ, งานการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ. (2565b). แนวทาง การป้องกันการติดเชื้อ. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.

สมฤดี ชัชเวช, รุ่งฤดี เวชวนิชสนอง, กุสุมา บุญรักษ์, ไพจิตร มามาตย์, ไพรัช พิมล และสุพรรษา บุญศรี. (2560). ผลของการนำใช้แนวปฏิบัติการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อแบคทีเรียดื้อยาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ. วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11, 31(4), 697-708. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Reg11MedJ/article/view/172075/123537

Centers for Disease Control and Prevention. (2024, January). CDC/NHSN Surveillance Definitions for Specific Types of Infections. https://www.cdc.gov/nhsn/PDFs/pscManual/17pscNosInfDef_ current.pdf.

Centers for Disease Control and Prevention. (2015, November). Facility guidance for control of carbapenem resistant Enterobacteriaceae (CRE). https://www.cdc.gov/infection-control/media/ pdfs/Guidelines-CRE-Guidance-508.pdf

Centers for Disease Control and Prevention. (2014, January 15). Antibiotic Resistance Threats in the US. file:///C:/Users/aaseyora/Downloads/OSHA-2010-0003-0239_attachment_33.pdf

World Health Organization. (2017, January 1). WHO country cooperation strategy, Thailand: 2017–2021. https://www.who.int/publications/i/item/9789290225829.