การพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมของโรงงานผลิตชิ้นส่วนฟองน้ำสังเคราะห์และยางสังเคราะห์แห่งหนึ่ง

Main Article Content

อนุรักษ์ จันทร์รุ่งทวีกุล
สิริรัตน์ สุวณิชย์เจริญ
สุดาว เลิศวิสุทธิไพบูลย์
อภิรดี ศรีโอภาส
กุณฑลีย์ บังคะดานรา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมในโรงงาน ผลิตชิ้นส่วนฟองน้ำสังเคราะห์และยางสังเคราะห์แห่งหนึ่ง


วิธีดำเนินการวิจัย โดยใช้แนวคิดในการควบคุมโรงงานให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อมมาใช้ในการสร้างต้นแบบของระบบ ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ ได้แก่ กูเกิลฟอร์ม กูเกิลชีทและลุกเกอร์สตูดิโอมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาระบบ โดยระบบจะประกอบด้วย 5 ส่วน ได้แก่ 1) รายงานสรุปการจัดทำเอกสารทางกฎหมาย 2) รายงานทะเบียนกฎหมายสิ่งแวดล้อม 3) รายงานสรุปสาระสำคัญของกฎหมายสิ่งแวดล้อม  4) รายงานทะเบียนเอกสารทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม และ 5) รายงานการจัดทำเอกสารทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมจากนั้นนำระบบไปทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพ สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการทดลองใช้ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม พบว่า ด้านการจัดเก็บเอกสารในระบบสามารถใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน มีความสะดวกในการจัดเก็บเอกสารตามที่ต้องการ และข้อมูลในระบบมีความเป็นปัจจุบัน โดยการใช้งานระบบจัดเก็บเอกสารมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.6 สำหรับด้านการสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อม พบว่า สามารถใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน มีประสิทธิภาพ/ความรวดเร็วในการสืบค้น และความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดในการสืบค้นเอกสารในระบบ ซึ่งการใช้งานระบบสืบค้นเอกสารมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.7 ซึ่งช่วยพัฒนากระบวนการทำงานจากเดิมที่จะต้องจัดเก็บและสืบค้นเอกสารในรูปแบบกระดาษเป็นการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ จึงทำให้เกิดความถูกต้องและความแม่นยำในการสืบค้นเอกสารได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Article Details

How to Cite
จันทร์รุ่งทวีกุล อ., สุวณิชย์เจริญ ส., เลิศวิสุทธิไพบูลย์ ส., ศรีโอภาส อ., & บังคะดานรา ก. (2024). การพัฒนาระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ทางกฎหมายสิ่งแวดล้อมของโรงงานผลิตชิ้นส่วนฟองน้ำสังเคราะห์และยางสังเคราะห์แห่งหนึ่ง. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(2), 5–15. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/705
บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม, สำนักงานเลขานุการกรม, กลุ่มประชาสัมพันธ์. (2566, มกราคม). รายงานประจำปี 2565. https://shorturl.asia/4FRyq

พงษ์ศักดิ์ ดรพินิจ และจตุรงค จิตติยพล. (2565). การพัฒนาระบบจัดเก็บเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กลุ่มโรงเรียนซำสูง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(4), 447-462. https://doi.org/10.14456/iarj.2022.69

พรเพ็ญ จันทราม, เพ็ญพักตร แกลวทนงค และภัทราภรณ เพ็ชรจํารัส. (2561). การประยุกตใช Google Application เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทํางานของบุคลากรสายสนับสนุน คณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลราชมงคลศรีวิชัย. วารสารสาระคาม, 9(2), 41-56. https://skjournal.msu.ac.th/pdf.php?id=1591844840

วริทธิ์ธร คำหมาย และเพ็ญศรี อมรศิลปชัย. (17 มิถุนายน, 2559). การพัฒนาระบบจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทโรงสีธัญญรุ่งเรืองชัย (ประเทศไทย) จำกัด [Paper]. การประชุมวิชาการและเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 ก้าวสู่ทศวรรษที่ 2: บูรณาการงานวิจัย ใช้องค์ความรู้ สู่ความยั่งยืน, วิทยาลัยนครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา.

สิทธิชัย วรโชติกำจร และพัชราภรณ์ วรโชติกำจร. (2561). การพัฒนาระบบจัดเก็บและค้นคืน เอกสารงานสารบรรณ:(Developing of Storage and Retrieval of Document System). วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(1), 137-145. https://ejournals.swu.ac.th/index.php/jcosci/article/view/10467/8744

อริษา ทาทอง และถนอม กองใจ. (2564). ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์โดยใช้ระบบยืนยันตัวตน CMU OAuth ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่. วารสารวิชาการ ปขมท., 10(2), 92-102.