การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย

Main Article Content

เพ็ญศรี ใจปานแก่น

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดหลังได้รับการผ่าตัดในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพจำนวน 7 คน และผู้สูงอายุหลังผ่าตัดกระดูกสะโพกหักจำนวน 20 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะก่อนพัฒนารูปแบบ เป็นแนวคำถามในการศึกษาสถานการณ์การจัดการความปวดหลังได้รับการผ่าตัดในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก 2) ระยะพัฒนารูปแบบ ได้แก่ (1) แบบบันทึกการประเมินความปวดหลังผ่าตัด และ (2) ดนตรีพื้นเมืองอีสานลดปวด และ 3) ระยะประเมินผลลัพธ์ ได้แก่ (1) แบบประเมินความพึงพอใจของพยาบาลวิชาชีพ (2) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุในการจัดการความปวด (3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้สูงอายุได้รับฟังดนตรีพื้นเมืองอีสานลดปวด และ (4) แนวคำถามในการประชุมกลุ่มระดมสมอง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม 2567 ถึงเมษายน 2567 วิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติพรรณนา


ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์การจัดการความปวดหลังผ่าตัดก่อนการพัฒนารูปแบบ มีประเด็นคือ ยังไม่มีรูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ไม่มีเครื่องมือในการประเมินความปวด และขาดความต่อเนื่องในการประเมินผลการจัดการความปวด ส่งผลให้การจัดการความปวดโดยพยาบาลยังไม่มีประสิทธิภาพพอ ภายหลังการพัฒนาได้รูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ประกอบด้วย 1) หลักการของรูปแบบ 2) โครงสร้างของรูปแบบ ประกอบด้วย ทีมงาน สถานที่ และ 3) แนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัด ผลการดูแลตามรูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัด พบว่าพยาบาลที่ใช้รูปแบบมีความพึงพอใจในรูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในระดับมากที่สุด ความพึงพอใจของผู้สูงอายุหลังผ่าตัดที่ได้รับการจัดการความปวดหลังได้รับการผ่าตัด พบว่าผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดทุกด้าน และผู้สูงอายุหลังได้รับการผ่าตัดกระดูกสะโพกหักที่ได้รับฟังการใช้ดนตรีอีสานลดปวดมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90

Article Details

How to Cite
ใจปานแก่น เ. (2024). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในผู้สูงอายุกระดูกสะโพกหัก โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(1), 56–84. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/679
บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ใจภักดี, กนกพร นทีธนสมบัติ และพรศิริ พันธสี. (2559). ผลของโปรแกรมการจัดการอาการปวดโดย ใช้สุวคนธบำบัด ร่วมกับดนตรีบำบัดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่เหล็กยึดตรีงกระดูกขา. วารสารโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์, 12(2), 54-68.

กระทรวงสาธารณสุข, กรมการแพทย์, สำนักการพยาบาล. (2550). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล ปรับปรุงครั้งที่ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 3). องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

จิณพิชญ์ชา มะมม. (2562). การพยาบาลผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อ (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ชิษณุพงค์ อินทร์แก้ว. (2565). การใช้เสียงเพื่อบรรเทาความเจ็บปวด : กรณีศึกษาในดนตรีบำบัดและดนตรี พิธีกรรม. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(2), 300-318.

ดวงสุดา วัฒนธัญญการ, บัวหลวง สำแดงฤทธิ์ และนิโรบล กนกสุนทรรัตน์. (2561). การประเมินการใช้แนวปฏิบัติการจัดการความปวดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดทางกระดูกและข้อ. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(4), 100-109.

นัทธี เชียงชะนา และสมชัย ตระการรุ่ง. (2558). วิธีการบำบัดทางดนตรี: การวิเคราะห์เนื้อหาจากงานวิจัย. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 45(2), 116-133.

บุญนำ พัฒนแก้ว. (2562). คุณภาพชีวิตผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักหลังได้รับการผ่าตัดใส่ข้อสะโพกเทียม. มหาราชนครศรีธรรมราช เวชสาร, 2(2), 21-30.

พัชราพร ตาใจ, บุญญภักดิ์ เห่งนาเลน และเยาวลักษณ์ สงวนพานิช. (2563). กระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ: บทบาทพยาบาลในการป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน ก่อนและหลังผ่าตัดกระดูกสะโพก. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(4), 116-128.

พุทธิพร พิธานธนานุกูล และปัทมา สุริต. (2554). การจัดการความปวดเรื้อรังของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในชุมชน. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 29(4), 58-68.

เรณู ภูจอมจิตตฏ์ มิ่งพันธ์, ตะวัน เขตปัญญา, เยาวเรศ ก้านมะลิ และวารุณี เข็มลา. (2563). การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการจัดการความปวดในผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัดข้อสะโพกเทียม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 28(2), 1-15.

โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ. (2566). รายงานสถิติผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัด. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชท่าบ่อ.

ลำดวน มีภาพ, ดลวิวัฒน์ แสนโสม และนงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์. (2560). แนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการความปวดเฉียบพลันในผู้ป่วยวิกฤตหอผู้ป่วยวิกฤตอายุรกรรม. ศรีนครินทร์เวชสาร, 32(6), 562-570.

วัชรี มุกด์ธนะอนันต์. (2555). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด. วารสารการแพทย์ โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์, 27(2), 16-172.

วิภาพร ลีเลิศมงคลกุล, สุพร ดนัยดุษฎีกุล, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ และพัชรพล อุดมเกียรติ. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ความเจ็บปวด และการสนับสนุนทางสังคม กับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ใน ระยะฟื้นตัว ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม. วารสารพยาบาลศาสตร์, 31(2), 26-37.

ศิริเอมอร วิชาชาติ. (2552). การพัฒนารูปแบบการจัดการความปวดหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ในหอพิเศษพระปทุมวรราชสุริยวงศ์ 1 โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ศรีสุดา งามขำ, นิสา ครุฑจันทร์, จุฑารัตน์ สว่างชัย, บุญเตือน วัฒนกุล, ศศิธร ชิดนายี และรุ่งนภา เขียวชอ่ำ. (2561). ความรู้เกี่ยวกับการประเมินและการจัดการกับความปวดของพยาบาลไทย. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 36(1), 81-89.

สุวิมล แคล่วคล่อง, วัลย์ลดา ฉันท์เรืองวณิชย์ และสุพร ดนัยดุษฎีกุล. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะโรคร่วม ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในการกำมือ และความวิตกกังวล กับการฟื้นตัวด้านการทำหน้าที่ของผู้ป่วยกระดูกสะโพก หักภายหลังผ่าตัด. วารสารสภาการพยาบาล, 29(2), 36-48.

อรพรรณ โตสิงห์. (2559). การพยาบาลผู้ป่วยทางออร์โธปิดิกส์. โครงการตำราคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

อัญชลี คันธานนท์. (2556). การพยาบาลผู้สูงอายุกระดูกข้อสะโพกหักที่มีโรคเรื้อรังร่วมด้วย : กรณีศึกษา. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 7(2), 271-280.

Folbert, E. C., Hegeman, J. H., Gierveld, R., van Netten, J. J., Velde, D. V., Ten Duis, H. J., & Slaets, J. P. (2017). Complications during hospitalization and risk factors in elderly patients with hip fracture following integrated orthogeriatric treatment. Arch Orthop Trauma Surg, 137, 507-515. https://doi.org/10.1007/s00402-017-2646-6

Kanis, J. A., Oden, A., McCloskey, E. V., Johansson, H., Wahl, D. A., Cooper, C., & IOF Working Group on Epidemiology and Quality of Life. (2012). A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporosis International, 23, 2239-2256. https://doi.org/10.1007/s00198-012-1964-3

McCafery, M. (1979). Nursing management of the patient with pain (2 ed.). Lippincott.

Peeters, C. M., Visser, E., Van de Ree, C. L., Gosens, T., Den Oudsten, B. L., & De Vries, J. (2016). Quality of life after hip fracture in the elderly: A systematic literature review. International Journal of the Care of the Injury, 47(7), 1369-1382. https://doi.org/10.1016/j.injury.2016.04.018

Sassoon, A., D'Apuzzo, M., Sems, S., Cass, J., & Mabry, T. (2013). Total hip arthroplasty for femoral neck fracture: Comparing in-hospital mortality, complications, and disposition to an elective patient population. The journal of Arthroplasty, 28(9), 1659-1662. https://doi.org/10.1016/j.arth.2013.01.027

Wall, P. D., & Melzack, R. (1999). Textbook of Pain (4th ed.). Churchil Livingstone.