การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน

Main Article Content

ธนภรณ์ ช่วยชู

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน  2) ปัจจัยเกื้อหนุนการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน 3) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยเกื้อหนุน 


ประชากรที่ศึกษา คือ อสม. ที่อาศัยในอำเภออ่าวลึก จังหวัดกระบี่ โดยมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 255 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และสถิติ One-way ANOVA ทดสอบรายคู่ด้วยวิธี least significance difference (LSD)


ผลการวิจัยพบว่า การมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย (M=1.93, S.D.=0.43) เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่าง พบว่า ระยะเวลาการเป็น อสม. การได้รับข้อมูลข่าวสาร วัสดุอุปกรณ์การฝึกอบรมเกี่ยวกับยาเสพติด และการมีประสบการณ์ในการทำงานยาเสพติดที่ต่างกันมีส่วนร่วมในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะแนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของ อสม. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน ควรที่จะมีการรณรงค์ให้ อสม. ประชาชนตระหนักถึงโทษของยาเสพติดให้มากขึ้น และสนับสนุนการจัดฝึกอบรมเพื่อรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับยาเสพติดและการป้องกัน

Article Details

How to Cite
ช่วยชู ธ. (2024). การมีส่วนร่วมของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในชุมชน. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(1), 19–36. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/606
บท
บทความวิจัย

References

กรวิทย์ เกาะกลาง, วินิจ ผาเจริญ และวัชระ ชาติมนตรี. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลสนามชัย อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสันติสุขปริทรรศน์, 2(1), 1-11.

กระทรวงยุติธรรม, สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2565). แผนปฏิบัติการด้านป้องกันและปราบปรามยาเสพติด พ.ศ.2565. สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนี (สบยช.), http://www.pmnidat.go.th/thai/downloads/serviceplan/SP02-65.pdf.

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง และธนัสถา โรจนตระกูล. (2565). การมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด. กรณีศึกษาตำบลลำประดา อำเภอบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. Journal of Modern Learning Development, 7(5), 92-104.

คลังข้อมูลการแพทย์และสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2565). Health Data Center: HDC. กระทรวงสาธารณสุข.

พระมหาฉัตรเพชร สมาจาโร. (2566). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่ตำบลหลุบ อำเภอเมือง จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสังคมศาสตร์และศาสตร์รวมสมัย, 4(1), 30-41.

สำนักงานยุติธรรมจังหวัดกระบี่. (2566, 15 กุมภาพันธ์). สยจ.กระบี่.ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือกรณีชายเสพยาคลุ้มคลั่ง. กองประสานราชการยุติธรรมจังหวัด, https://www.moj.go.th/view/81019.

อธิพงษ์ ตันศิริ. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ศึกษากรณี อำเภอแกลง จังหวัดระยอง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

อภิญญา ก้อเด็ม และอิกบาร์น ราซีด. (2565). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดนราธิวาส. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน, 4(3), 56-68.

อัมพร ภูแก้ว. (2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลตำบลพลวง อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยบูรพา.

United Nations Office on Drugs and Crime. (2022). Executive summary / Policy implications. https://www.unodc.org/res/wdr2022/MS/WDR22_Booklet_1.pdf.

Daniel, W.W. (2010). Biostatistic:Basic Concepts and Methodology for health Sciences (9th ed.). John Wiley & Sons.

Bloom, B.S. (1971). Taxonomy of education objective: The classification of educational goals: Handbook II: Affective domain. David McKay.

Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1982). Effective Behavior in Organizations. Richard D. Irwin.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. Attitude Theory and Measurement. Wiley & Son.