การศึกษาการสร้างสมญานามนางงามของแฟนนางงามไทยในเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม

Main Article Content

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
สุวรรณี ยหะกร

บทคัดย่อ

สมญานามคือชื่อที่ใช้เรียกหรืออ้างถึงบุคคลนั้นๆโดยไม่ใช้ชื่อจริงในการเรียก  อาจเป็นการรู้กันเฉพาะกลุ่มนิยมใช้กันอย่างไม่เป็นทางการและอาจคงอยู่เพียงระยะเวลาหนึ่ง แต่สมญานามเหล่านั้นก็เปรียบเสมือนบันทึกทางประวัติศาสตร์อีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวหรือเหตุการณ์ต่างๆ ของแต่ละช่วงเวลาในสังคมผ่านการใช้ภาษา งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิจัยเอกสาร มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างและการใช้สแลงของแฟนนางงามไทยในเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม โดยเก็บข้อมูลสมญานามจำนวน 20 สมญานาม ศึกษาที่มา ความหมาย และการใช้จากการสังเกตการใช้สมญานามของแฟนนางงามไทยในกลุ่มนางงามที่มีผู้เข้าร่วมในกลุ่มมากกว่าห้าหมื่นคนขึ้นไป ระหว่างปี พ.ศ. 2563 - 2566 ตามแนวคิดการสร้างสมญานามตามองค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่าการสร้างสมญานามที่ใช้ในเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม นั้นมาจาก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ชื่อนางงาม พฤติกรรม ลักษณะเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการตั้งสมญานามเพื่อให้เรียกได้ง่ายขึ้น และเพื่อให้เข้าใจความหมาย แต่จะสามารถเข้าใจได้เฉพาะกลุ่ม ดังนั้นในการศึกษาจึงต้องศึกษาถึงที่มาต้นกำเนิดของสมญานามนั้นจึงจะทราบความหมายของสมญานามที่พบ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทรงยศ บัวเผื่อน และนนทชา คัยนันทน์. (2562). การวิเคราะห์สมญานามที่สื่อมวลชนตั้งให้กับคนกีฬา. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, 2(1), 1-32.

เนตรทราย มณีโชติ. (2544). สมญานามในข่าวและรายการกีฬาทางสื่อมวลชน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพิไล บุญจง. (2564, 27 กรกฎาคม). หลายแง่มุมทั้งตัวตน ชีวิต ความรักของ Amanda Obdam. lofficielthailand, https://lofficielthailand.com/2021/07/amanda-obdam-opens-up/.

โรม บุนนาค. (2560, 23 มกราคม). ชื่อฝรั่งที่คนไทยเรียกให้สะดวกลิ้น! เจ้าของชื่อยังต้องจำว่านี่คือชื่อของไอเอง!!. mgronline, https://mgronline.com/onlinesection/detail/9600000007483.

ศิตา เยี่ยมขันติถาวร, อรรถพล ม่วงสวัสดิ์ และธนะโรจน์ สิทธาธีระวัฒน์. (2566). การศึกษาการใช้สแลงของแฟนนางงามไทยในเฟซบุ๊กแฟนเพจการประกวดนางงาม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 18(2), 156-171.

ศิริพร ภักดีผาสุข. (2549). สมญานามนักการเมือง: การละเล่นทางภาษาเพื่อวิจารณ์การเมืองไทยของสื่อมวลชน. ใน เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง, และอมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์ (บรรณาธิการ), รู้ทันภาษารู้ทันการเมือง (น. 73-107). ขอคิดด้วยคน.

สุเมธ ชัยไธสง. (2563). การสื่อสารอัตลักษณ์ทางเพศของแฟนนางงาม: ศึกษากรณีแฟนชายรักชายต่อการประกวดมิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์. จันทรเกษมสาร, 26(2), 264-278.

สุเมธ ชัยไธสง และสมสุข หินวิมาน. (2563). พัฒนาการการรวมกลุ่มของแฟนคลับชายรักชายต่อการประกวดนางงาม: จากนางสาวสยามสู่มิสยูนิเวิร์สไทยแลนด์. MFU Connexion: Journal of Humanities and Social Sciences, 9(1), 123-148.

สุวรรณา งามเหลือ. (2439). การศึกษาสมญานามในหนังสือพิมพ์รายวันไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Nguyen Thi Thuy Chaua, พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์ และสุภาพร คงศิริรัตน์. (2017). วัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านคำเรียกบุคคลในภาษาไทยและภาษาเวียดนาม. Journal of Mekong Societies, 13(3), 77-99.