การพัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคุณค่าอย่างสร้างสรรค์ สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคุณค่าอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ศึกษาประสิทธิผลหลักสูตรภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมการสะท้อนคุณค่าอย่างสร้างสรรค์สำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
การดำเนินการวิจัยเป็นแบบกระบวนการวิจัยและพัฒนา มีระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง คือผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนโกวิทธำรงเชียงใหม่ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 99 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) หลักสูตรภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดการสะท้อนคุณค่าอย่างสร้างสรรค์ 4) แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ และ 5) การทดสอบค่าที สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า หลักสูตรฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ 2) จุดมุ่งหมาย 3) โครงสร้างหลักสูตร และกรอบเนื้อหา 4) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 5) การวัดและประเมินผล มีคุณภาพอยู่ในระดับมาก สำหรับประสิทธิผลของหลักสูตรฯ พบว่าหลังการทดลองใช้หลักสูตรฯ ผู้เรียนมีการคิดสะท้อนคุณค่าอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรฯ อยู่ในระดับมากที่สุด หลักสูตรฯ นี้ ถือเป็นนวัตกรรมด้านหลักสูตรที่เหมาะสมกับการส่งเสริมผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 อย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
สำนักงานวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ตัวชี้วัดระหว่างทางและตัวชี้วัดปลายทาง ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 และแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตัวชี้วัดระหว่างทาง ตัวชี้วัดปลายทาง และเกณฑ์การตัดสินผลการเรียน. กระทรวงศึกษาธิการ.
ธิติ ธีระเธียร. (2564, มกราคม 28). Hard Skills + Soft Skills และ 7 เทรนด์การเรียนรู้เพื่อการศึกษาในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก. STARFISHLABZ, https://www.starfishlabz.com/blog/48-hard-skills-soft-skills.
นภาศิริ ฤกษนันทน์, มารุต พัฒผล และดนุลดา จามจุรี. (2565). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดซับซ้อน สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1048-1063.
นิภาพร กุลสมบูรณ์ และสุวิมล ว่องวาณิชย์. (2565). Active Learning: จากความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนสู่ปรัชญาและทฤษฎีรากฐาน ตั้งทิศให้ถูก เพื่อไม่ทิ้งครูให้หลงทางอีกต่อไป. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 3(2), 1-17.
พีชาณิกา เพชรสังข์. (2565). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ผสมผสานเทคโนโลยีตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้แบบเน้นประสบการณ์และการเรียนรู้แบบผสมผสานสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 12(2), 4-13.
มารุต พัฒผล. (2567). การวิจัยและพัฒนาเพื่อการพัฒนาหลักสูตร. ศูนย์ผู้นำนวัตกรรมหลักสูตรและการเรียนรู้.
วิชัย วงศ์ใหญ่ และมารุต พัฒผล. (2567). การเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์. จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์.
เวิน ริทัศน์โส, อุษา ปราบหงษ์ และสำราญ กำจัดภัย. (2565). การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและทฤษฎีการสร้างสรรค์ด้วยปัญญา เพื่อเสริมสร้างทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรมของนักเรียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยทางสังคมศาสตร์, 17(3), 129-142.
ศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2566). วิธีสอนสมัยใหม่. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อาทิตย์ ซาวคำ และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2566). วิธีการสอนภาษาไทยเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมผู้เรียนในฐานะพลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 2(2), 1-8.
อาทิตย์ ซาวคำ และศิริวรรณ วณิชวัฒนวรชัย. (2566). นวัตกรรมการเรียนรู้วรรณคดีเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสารครุศาสตร์ ราชภัฏเชียงใหม่, 2(3), 15-30.
Cambridge International Education Teaching and Learning Team. (n.d.). Getting Start with Active Learning. Cambridge Assessment International Education, https://www.cambridge-community.org.uk/professional-development/gswal/index.html.
CBE Thailand. (n.d.). Higher Order Thinking (HOT) competency. https://shorturl.asia/X1iWG.
Creswell, J. W., & Plano Clark, V.L. (2011). Designing and Conducting Mixed Methods Research (2nd ed.). Sage Publications.
Disruptignite. (n.d.). Education 2030 - The future of education in the next 10 years. https://www.disruptignite.com/blog/education2030.
Starfish Academy. (n.d.). What is Constructive Criticism? Why do children need to know?. STARFISHLABZ, https://www.starfishlabz.com/blog/176-constructive-criticism-.
Stringer, H. (2021, October 1). Constructive criticism that works. AMERICAN PSYCHOLOGICAL ASSOCIATION, https://www.apa.org/monitor/2021/10/career-constructive-criticism.