ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนที่มีความเสี่ยง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุรชัย ชัยสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เชิงสํารวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และแรงสนับสนุนทางสังคม 2) พฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนที่มีความเสี่ยง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 184 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน มีค่าความสอดคล้องของวัตถุประสงค์รายข้อระหว่าง 0.67 – 1.00 ตรวจสอบค่าความเที่ยงแบบสอบถามความรู้ด้วยสถิติ KR-20 เท่ากับ 0.72 ด้านทัศนคติ แรงสนับสนุนทางสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาชได้สัมประสิทธิ์แอลฟ่า เท่ากับ 0.811, 0.842 และ 0.873 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติถดถอยแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้ส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูง เจตคติเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับสูง และพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับปานกลาง ตัวแปรที่สามารถทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ได้แก่ อาชีพ (พ่อบ้าน/แม่บ้าน) ระดับการศึกษา (ปริญญาตรี) และเพศ (หญิง) ซึ่งมีอิทธิพลเชิงบวกสำหรับเจตคติ และการมีญาติสายตรงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมีอิทธิพลเชิงลบ สามารถอธิบายการผันแปรของพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 16.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.05)


ฉะนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรรณรงค์ให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโดยเฉพาะผู้ที่มีญาติสายตรงที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงให้เจตคติที่ดีต่อการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และจัดทำโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้กับประชาชนกลุ่มเสี่ยง

Article Details

How to Cite
ชัยสิทธิ์ ส. (2025). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนที่มีความเสี่ยง อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 2(2), 49–65. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1918
บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2562, 21 ธันวาคม 2562). รายงานประจำปี 2562. https://ddc.moph.go.th/uploads/publish/955420191221133437.pdf.

จันทร์ทรา จีนกลับ, นาเดีย ดะแซ, ซูไฮลา เจะเล็ง, พัทมาวาตี ลาเต๊ะ, อาร์ลีมันท์ เบญจมามาศ, ซูไฮมิง บือซา, ชิษณุพงศ์ หนูทิม,จันทร์ญา ธนะปฐมชัย และกฤตพร สิริสม. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสร้างเสริมของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง: กรณีศึกษาอำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 42(4), e275113.

ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม, สุรีย์ จันทรโมลี และประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง เขตสุขภาพที่ 4 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(12), 425-438.

ทีนุชา ทันวงศ์. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, 5(2), 28-43.

นันทนาถ ช่วยสกุล. (ม.ป.ป.). ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์ในกลุ่มวัยทำงาน เขตสุขภาพที่ 11. ศูนย์อนามัยที่ 11 นครศรีธรรมราช, https://hpc11.anamai.moph.go.th/th/owc-64/download/?did=215407&id=95631&reload=.

พัชราวดี ทองเนื่อง และอัญณ์ยภัคสร ใจสมคม. (2562). ปัจจัยทำนายความตั้งใจในการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูงของประชากรวัยผู้ใหญ่. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(2), 49-65.

สมใจ จางวาง, เทพกร พิทยภินัน และนิรชร ชูติพัฒนะ. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของประชาชนกลุ่มเสี่ยง. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 3(1), 110-128.

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. (2562). แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562. ทริค ธิงค์.

สุธี สฤษฎิ์ศิริ, วรรณีย์ จิรอังกูลสกุล และธิติยา มีชัย. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรม ในการป้องกันควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน กับภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ 60 - 69 ปี เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง, 9(1), 241-260.

สำนักงานสาธารณสขอำเภอพิปูน. (2567). รายงานการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2567). ข้อมูลการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง. กระทรวงสาธารณสุข.

อุดมพร ยิ่งไพบูลย์สุข, ส่าหรี แดงทองดี และแว่นใจ นาคะสุวรรณ. (2565). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานของผู้สูงอายุในชมรมผู้สูงอายุวัดปุรณาวาส กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์, 4(4), 179-188.

อัณญ์ยภัคสร ใจสมคม, พัชราวดี ทองเนื่อง,นันทิยา โข้ยนึ่ง, ธิดารัตน์หวังสวัสดิ์, นูรดีนี ดือเระ และพัชรี รัตนพงษ์. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตสูงของผู้ใหญ่ไทยที่มีภาวะก่อนเป็นโรคความดันโลหิตสูง. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 12(3), 1-18.

Best, J. W.. (1977). Research in Education (3rd ed.). Prentice Hall.

Bloom, B. S. (1971). Human Characteristics and School Learning. McGraw Hill.

Cohen, J. (1988). Statistical power analysis for the behavioral sciences (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. G., & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.

Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. The Science Press.

Naing, L., Winn, T., & Rusli, B. N. (2006). Practical issues in calculating the sample size for prevalence studies. Archivers of Orofacial Sciences, 1, 9-14.

Pender, N. J. (1996). Health promotion in nursing practice (3rd ed.). Appleton & Lange.