ผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุก เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม และ 2) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัด การเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวปกติหลังการทดลอง
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมเป็น 60 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จากนั้นใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม 2) กิจกรรมแนะแนวแบบปกติ และ 3) แบบวัดความฉลาดทางสังคมมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ .89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที
ผลการวิจัยปรากฏว่า 1) หลังการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) หลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองที่ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวโดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมมีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางสังคมสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ใช้กิจกรรมแนะแนวแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ขชล บัวศรี. (2565). รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาสังคมเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในจังหวัดพิษณุโลก [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
โรงเรียนวิสุทธรังสี, งานทะเบียนและงานวิชาการ. (2567). สถิติจำนวนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. โรงเรียนวิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี.
ทัชชา สุริโย. (2559). ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษากลุ่มที่มีต่อการเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมในวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พงษ์ศักดิ์ น้อยพยัคฆ์. (2559, 20 มีนาคม). SQ : ความฉลาดทางสังคม กุญแจสร้างเด็กไทยยุคใหม่. ไทยรัฐ. https://th.rajanukul.go.th/_admin/file-download/4-5384-1468937010.pdf
พิชญาพร สมจันทร์. (2564). การเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยชุดกิจกรรมแนะแนว [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ.
นุจรินทร์ หมัดหลี, ณัชชา มหปุญญานนท์ และเมธี ดิสวัสดิ์. (12 พฤษภาคม, 2565). การพัฒนาแบบวัดความฉลาดทางสังคมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 [Paper]. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 12, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์. (2566). ศึกษาผลการใช้โปรแกรมการกำกับอารมณ์ร่วมกับทักษะชีวิตที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และความฉลาดทางสังคมของนักศึกษามหาวิทยาลัย. วารสารการพยาบาลและสุขภาพจิต, 37(3), 1-14.
ธนพล บรรดาศักดิ์, กนกอร ชาวเวียง, เสาวลักษณ์ ตันติสุวิชวงษ์, นฤมล จันทรเกษม และขวัญชนก ยศคำลือ. (2562). ผลของโปรแกรมการเสริมสร้างความฉลาดทางอารมณ์ต่อความฉลาดทางสังคมของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลตำรวจ, 12(2), 388-397.
ธนิตศักดิ์ ลิ้มสุวรรณภัทร์. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของกลุ่มผู้ต้องขังที่กระทำผิดวินัยเรือนจำ กลางบางขวาง จังหวัดนนทบุรี [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ธารทิพย์ ขุนทอง. (2562). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางสังคมของวัยรุ่น [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธานี ชูกำเนิด และสิรภพ สินธุประเสริฐ. (2562). ความฉลาดทางสังคมกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร, 10(2), 357-366.
ฝนพรม พุทธนา. (2562). การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด Active Learning ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ยอดแก้ว แก้วมหิงสา. (2562). ศึกษาการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาตามแนวคิดการรับใช้สังคมและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย [วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, หน่วยศึกษานิเทศก์. (2562). แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
อริสา แก้วลี. (2561). ศึกษาแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ระหว่างครอบครัวและโรงเรียนในการพัฒนาความฉลาดทางสังคมของเด็กวัยรุ่นตอนต้นในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอื้อทิพย์ คงกระพันธ์. (2567). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางสังคมของนักศึกษา. วารสารจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, 14(1), 29-40.
Albrecht, K. (2009). Social Intelligence: The new science of success. John Wiley & Sons.
Craig, R. P. (1983). Piaget: experience and cognitive development. Educational Considerations, 10(3), 22-24. https://doi.org/10.4148/0146-9282.1787
Gardner, H. (1983). Frames of Mind: A Theory of Multiple intelligences. Basic Books.
Goleman, D. (1995). Emotional intelligence: Why it can matter more than IQ. Bantam Books.