ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ทองร้อย พันธ์ยาง
นพพล อัคฮาด

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) ระดับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (3) เปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช จำนวน 684 คน คำนวณกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน 252 คน ตามแนวคิดของทาโร ยามาเน ที่ระดับความเชื่อมั่นที่ร้อยละ 95 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างโดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที ค่าความแปรปรวนทางเดียว และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (2) ระดับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (3) ปัจจัยส่วนบุคคลของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ ด้านเพศ ด้านอายุ และด้านระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัจจัยด้านระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ด้านสถานภาพ ด้านระดับตำแหน่งงานและรายได้ต่อเดือนที่แตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่อการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และ (4) ปัจจัยแรงจูงใจกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.410) อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05

Article Details

How to Cite
พันธ์ยาง ท., & อัคฮาด น. (2024). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยแรงจูงใจของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการกับการพัฒนาสู่องค์การเชิงยุทธศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 1(3), 47–59. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1255
บท
บทความวิจัย

References

กิ่งพร ทองใบ. (2562). แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการเชิงกลยุทธ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์และการจัดการเพื่อสร้างสมรรถนะ. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

กิตติพงษ์ เกียรติวัชรชัย. (2562). แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาระบบราชการและการบริหารการเปลี่ยนแปลง. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2564). การวางแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา. ใน เอกสารการสอนชุดวิชานโยบายสาธารณะและการวางแผน. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เฉลิมพงศ์ มีสมนัย. (2562). การวางแผนกลยุทธ์องค์กรภาครัฐ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐ. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล. (2559). แรงจูงใจมนุษย์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชนิดา จิตตรุทธะ. (2560). ทฤษฎีองค์การ: ปรัชญา กระบวนทัศน์ และแนวคิด. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ตรีภพ ชินบูรณ์. (2559). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. วิทยาลัยธาตุพนม มหาวิทยาลัยนครพนม

ธนชัย ยมจินดา. (2562). ทฤษฎี กระบวนการ และตัวแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐ. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2562). การเป็นองค์กรเชิงกลยุทธ์ของกระทรวงการคลัง. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 17(1), 28-42.

นราธิป ศรีราม. (2562). การจัดการองค์การในการดำเนินกลยุทธ์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการจัดการเชิงกลยุทธ์ในภาครัฐ. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นวพล นาคิน. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของตำรวจรัฐสภาสังกัดสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นิธิพัฒน์ เมฆขจร. (2559). แรงจูงใจมนุษย์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาเพื่อการดำรงชีวิต. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.

ปรียานุช ชูจร. (2564). ความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้ ปัจจัยแรงจูงใจ และประสิทธิภาพการทำงานรูปแบบ Work From Home ของข้าราชการกรมยุทธการทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

พงศ์ธนา เม่นนิ่ม. (2566). แรงจูงใจในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน กรณีศึกษา วิศวกรในจังหวัดนครราชสีมา [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

พิทยา บวรวัฒนา (2547). แนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์สหรัฐอเมริกา 2. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาแนวคิด ทฤษฎี และหลักการรัฐประศาสนศาสตร์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 7). สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร.

ภูริพัฒน์ ชาญกิจ. (2562). พฤติกรรมระดับบุคคล. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาภาวะผู้นำและพฤติกรรมองค์การ. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (ม.ป.ป.). แผนปรับแต่งแปลงโฉมมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช พ.ศ.2565 – 2569. http://eservice.stou.ac.th/main/Portal/reinventing2022/preface.html.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, สำนักงานอธิการบดี, กองแผนงาน, ฝ่ายวางแผนวิจัยและนวัตกรรม. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) และการถ่ายทอดสู่ โรงการ-กิจกรรม ในแผนพัฒนาฯ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2561-2565). http://eservice.stou.ac.th/EDOCUMENT/OPR/planning/pl_main/NEWWEB/template/PR/%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%20%E0%B8%A2%E0%B8%A8.%2020%20%E0%B8%9B%E0%B8%B5%20(info)-Final.pdf.

รังสรรค์ ประเสริฐศรี. (2561). ประชากรและกลุ่มตัวอย่างการวิจัย. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2561). จิตวิทยาองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 2). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2560). มนุษยสัมพันธ์: พฤติกรรมมนุษย์ในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 4). มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

วราภรณ์ รุ่งเรืองกลกิจ. (2561). ภาวะผู้นำ การติดต่อสื่อสาร และการจูงใจ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาองค์การและการจัดการและการจัดการทรัพยากรมนุษย์. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2561). เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณ์ดี แสงประทีปทอง. (2553). เครื่องมือวิจัยและการตรวจสอบคุณภาพ. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาวิทยานิพนธ์ 2. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุภาพร นันทนางกูล. (2552). ความคิดเห็นเกี่ยวกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

สืบวงศ์ กาฬวงศ์. (2560). องค์การที่มุ่งเน้นยุทธศาสตร์ : การสร้างความเติบโตในสภาพแวดล้อมธุรกิจใหม่ของบริษัทที่ประยุกต์แนวคิดลิขิตสมดุล. วารสารราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 250-255.

พสุ เตชะรินทร์, ยุทธนา แซ่เตียว, ยินดี ดิสสรา, นารถ จันทร์วงศ์ และญาดา ตรองตรง. (2548). แผนที่ยุทธศาสตร์. ก.พลพิมพ์ (1996).

อาภากร สายสุวรรณ. (2564). ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และแรงจูงใจของพนักงานที่มีต่อสายการบินในการกลับมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

Kaplan, R. S., & Norton, D. P. (2001). The Strategy-Focused Organization: How Balanced Scorecard Companies Thrive in the New Business Environment. Management And Accounting Web, https://maaw.info/ArticleSummaries/ArtSumKaplanNorton2001.htm.