ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

นิภาภัทร พนังแก้ว

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง คือ อสม.  จำนวน 328 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม มีค่า IOC ระหว่าง 0.67 –1.00 แบบสอบถามด้านความรู้ มีค่า KR-20 เท่ากับ 0.74 ด้านทัศนคติและพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.70 และ 0.82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติ Multiple logistic regression


ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความรู้อยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 53.35 มีระดับทัศนคติสูงและปานกลางเท่ากัน ร้อยละ 50.00 ปัจจัยเอื้อในการรับรับยาปฏิชีวนะมากที่สุด คือ โรงพยาบาลของรัฐ ร้อยละ 36.3 แลได้รับข้อมูลข่าวสารจากอินเติร์เน็ตและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้เคียงกัน ร้อยละ 36.3 และ 35.4 ส่วนปัจจัยเสริมมาจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากที่สุด ร้อยละ 45.1 สำหรับพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะส่วนใหญ่อยู่ในระดับเหมาะสม ร้อยละ 53.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ได้แก่ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ รายได้ ความรู้ ทัศนคติ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริม


ดังนั้น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขควรจัดโปรแกรมการอบรมเกี่ยวกับการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลให้กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นแกนนําการใช้ยาที่ถูกต้องและสร้างทัศนคติที่ดีให้ อสม.

Article Details

How to Cite
พนังแก้ว น. (2025). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะ ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต, 2(2), 5–21. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/GSLL/article/view/1163
บท
บทความวิจัย

References

ปรีชา อันรัสพงศ์. (2565). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการใช้ยาปฏิชีวนะของประชาชนที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีรัตนะ อำเภอศรีรัตตนะ จังหวัดศรีสะเกษ. วารสารการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ, 2(1), 62-70

พฤหัสกัญยา บุญลบ, นวพรรธน์ดี ประเสริฐวรกร, อนุรักษ์ มีอิ่ม, เจริญ ทุนชัย และพระครูโอภาสกาจนธรรม. (2563). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในเขตเทศบาลเมืองชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 21(2), 197-205.

พัชร์สณธิ์ อ่วมเกิด. (2560). ปัจจัยทํานายพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดปทุมธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรวิทย์ นุ่มดี. (2563). พฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(7), 213-228

สุวัฒน์ ปริสุทธิวุฒิพร และมัณฑนา เหมชะญาติ. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการ ในโรงพยาบาลขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสต์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า, 31(2), 114-127

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2560, 22 กุมภาพันธ์). ลดใช้ยาปฏิชีวนะ และยาไม่จำเป็น. https://www.thaihealth.or.th/?p=256837.

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. (22 มีนาคม 2561). อย. เลิศ ปฏิบัติการลดภัยร้ายจากเชื้อดื้อยาที่คร่าชีวิตคนไทยปีละ 38,000 คนจัดใหมีโครงการ ชั่งใจก่อนใช้ยา รณรงค์การใช้ยาสมเหตุผล. https://dis.fda.moph.go.th/detail-newsUpdate?id=1252

สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ (สสส.). (2560, กันยายน 28). ความหมาย ยาปฏิชีวนะ กับ ยาแก้อักเสบ. https://www.thaihealth.or.th/?p=230185.html. (in Thai)

อารยา ข้อค้า. (2563). ยาปฏิชีวนะและการดื้อยาปฏิชีวนะของแบคทีเรีย. วารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 27(2), 125-139.

อารยา ข้อค้า และอาทิตยา จิตจำนงค์. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของนักศึกษาระดับปริญญาตรีในจังหวัดภูเก็ต. เวชสารแพทย์ทหารบก, 74(4), 277-290.

อัมพร ยานะ และดลนภา ไชยสมบัติ. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้ยาปฏิชีวนะของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลชุมชน. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข, 31(1), 121-134.

องค์การเภสัชกรรม. (2557, 22 สิงหาคม). ยาปฏิชีวนะยาอันตรายห้ามซื้อกินเอง. โรงพยาบาลกรุงเทพราชสีมา, https://www.facebook.com/photo.php?fbid=719786691428574&id=131874466886469&set=a.134517596622156&locale=th_TH.

Best, J. W. (1977). Research in Education. Prentice Hall.

Bloom, B. S. (1976). Human Characteristic and School Learning. McGraw-Hill Book.

Green, L., & Kreuter, M. (2005). Health Program Planning An Educational And Ecological Approach (4th ed.). Mc Graw-Hill.

Health Policy and Systems Research on Antimicrobial Resistance (HPSR-AMR) Network. (2018). Thailand’s First One Health Report. AMR THAILAND, https://amrthailand.net/Home/Thailand.

Krejcie, R. V, & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610. https://doi.org/10.1177/001316447003000308