การศึกษาความคิดเห็น ความต้องการและความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น ความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ เก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในหลักสูตร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึงเดือนกันยายน 2564 ระหว่างเปิดทำการหลักสูตร วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความ และสรุปหาข้อเท็จจริงตามวัตถุประสงค์ในรูปแบบการบรรยาย
ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความคิดเห็นต่อหลักสูตรในเชิงบวก หลักสูตรที่มีการเรียนการสอนที่หลากหลาย ครอบคลุม ทั้งในเรื่องวิชาการ และทักษะการฝึกปฏิบัติ สิ่งสำคัญในการจัดการเรียนการสอน คือ การส่งเสริมและสอดแทรกทักษะที่จำเป็นต่างๆ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะด้านสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ โดยเฉพาะการฝึกทักษะ ประสบการณ์วิชาชีพในบริบทของเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และจัดรูปแบบการจัดการเรียนการสอนด้านสหกิจศึกษาและการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทํางาน โดยมีความต้องการและความคาดหวังต่อคุณลักษณะบัณฑิตอันพึงประสงค์ของหลักสูตร ให้บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรให้มีลักษณะเป็นผู้มีองค์ความรู้ด้านสุขภาพ โดยสามารถปรับประยุกต์ใช้ความรู้กับบริบทงานที่รับผิดชอบได้อย่างดี มีการเรียนรู้และเปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ และเน้นให้บัณฑิตมีทักษะที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน (Soft Skills) จากผลการศึกษาควรนำข้อมูลไปใช้เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนในรายวิชาของหลักสูตร การส่งเสริมกิจกรรมนอกหลักสูตร และสร้างกรอบแนวคิดในการพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตรต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
มหาวิทยาลัยบูรพา, กองแผนงาน. (2563). งานวิจัยสถาบันและสารสนเทศ. กองแผนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา, https://planning.buu.ac.th/module/page.php?module=content/research&file=report.php.
มหาวิทยาลัยบูรพา, กองแผนงาน. (2564). แผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 - 2567 (ฉบับปัจจุบัน). กองแผนงาน มหาวิทยาลัยบูรพา, https://planning.buu.ac.th/module/page.php?module=menu_new/menu_link&file=%E0%B9%81%E0%B8%9C%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%AD.html#jump3.
มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะสาธารณสุขศาสตร์. (2564). หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2564. มหาวิทยาลัยบูรพา.
มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสาธารณสุขศาสตร์ และสภาคณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2562). (ร่าง มคอ.1) มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาสาธารณสุข ศาสตร์ (มิถุนายน 2562). มหาวิทยาลัยมหิดล.
มหาวิทยาลัยบูรพา, งานพัฒนาหลักสูตรและการสอน. (2559, ตุลาคม). คู่มือการเสนอหลักสูตรการศึกษา ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ. งานพัฒนาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา, https://service.buu.ac.th/index.php/cid-manual-form/.
พรทิพย์ วงศ์ไพบูลย์. (2560). การเรียนรู้เชิงรุกและการมีส่วนร่วมของผู้เรียน (Active Learning). วารสารสถาบันวิจัยญาณสังวร, 8(2), 327-336.
ยศยง จันทรวงศา. (2558). การสนับสนุนทางสังคม ความเหมาะสมกันระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม และความผูกพันในงาน กรณีศึกษาพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินบนสายการบินแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
รัศมี ศรีนนท์, อุดมกฤษณ์ ศรีนนท์, วิภารัตน์ ยมดิษฐ์ และกรรณิการ์ กิจนพเกียรติ. (2561). การศึกษาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 9(2), 331-343.
สภาการสาธารณสุขชุมชน. (2562, 12 มกราคม). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของ (ร่าง) มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา. สภาการสาธารณสุขชุมชน, https://ccph.or.th/index.php?p=filesdownload&id=61.
สภาการสาธารณสุขชุมชน. (2562, 12 มกราคม). คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงอค์ของ (ร่าง) มาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์. สภาการสาธารณสุขชุมชน, https://ccph.or.th/index.php?p=filesdownload&id=71.
Armstrong, D. G. (2003). Curriculum Today. Merrill Prentice Hall.
Bloom, S. B. (n.d.). ระดับขั้นความสามารถของบลูม (Bloom’s Taxonomy). Active Learning : Learning for All, https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=11322.
Dewey, J. (1910). How We Think. D.C. Health & co., publishers.
Frankelius, P. (2009). Questioning Two Myths in Innovation Literature. Journal of High Technology Management Research, 20(1), 40-51. https://doi.org/10.1016/j.hitech.2009.02.002
Henson, K.T. (2001). Curriculum Planning: Integrating Multiculturalism, Constructivism, and Education Reform (2nd ed.). McGraw - Hill.
Maryville, S. (1992). Entrepreneurship in the Business Curriculum. Journal of Education for Business, 68(1), 27-31.
McKeown, M. (2008). The Truth about Innovation. Prentice Hall.
Oliva, P.F. (2009). Developing the Curriculum (7th ed.). Allyn and Bacon.
Taba, H. (1962). Curriculum Development: Theory and Practice. Harcourt Brace Jovanovich.
Tanner, D, & Tanner, L.N. (1980). Curriculum Development: Theory into Practice (2nd ed.). Macmillan Publishing.