การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

จิตต์อารีย์ บุตรษา
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง ทำการศึกษากับตัวอย่างนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส จำนวน 1 แผน และ (2) แบบสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite
บุตรษา จ. ., & กล้ายประยงค์ ร. (2025). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2(2), LEADRU0202e1660. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1660
บท
บทความวิจัย

References

Brahmawong, C. (2008). Teaching Documents for Educational Technology, Units 1-5. Bangkok: United Productions. [In Thai].

Buakham, N. (2023). Inquiry-based Learning: Interest-curiosity-investigation a Learning Process that Allows Learners to Find Answers by Themselves. Retrieved December 20, 2024, from https://mappamedia.co/posts/inquiry-based-learning. [In Thai].

Fanchian, N. (2020). The 5 E’s of Inquiry-Based Learning. Retrieved December 21, 2024, from https://www.trueplookpanya.com/education/content/82385. [In Thai].

Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2023). Press Conference Announcing the Results of the PISA 2022 Assessment. December 20, 2024, from https://pisathailand.ipst.ac.th/news-21/. [In Thai].

Kanyaprasith, K. (2015). 5 Essential Features of Inquiry. Retrieved December 17, 2024 from http://sciedcenter.swu.ac.th/Portals/25/Documents/News/5 Essential features of inquiry_Kamonwan.pdf?timestamp=1434440007462. [In Thai].

Khanhavet, B. (2002). Educational Innovation. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [In Thai].

Kongthan, S. and Kaewurai, W. (2020). The Development of a Science Learning and Activities Package according to Problem-based Learning to Promote Problem Solving Ability for Grade 3 Students. The 12th NPRU National Academic Conference, Nakhon-Pathom Rajabhat University, 196-202. [In Thai].

Ritjaroon, P. (2018). Research Techniques for Improving Learning. Chulalongkorn University Press. [In Thai].

Thanomphan, N. and Phusing, N. (2020). The Study of Learning Achievement on Force and Motion and Skill Scientific Process of Prathomsuksa 3 Students by using Inquiry Learning Model in Conjunction with Skills Exercises. Journal of MCU Ubon Review, 5(3), 193-203. [In Thai].