https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/issue/feed
วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง
2025-05-01T00:00:00+07:00
Assistant Professor Patumphorn Piatanom, Ph.D.
leadjournal2023@gmail.com
Open Journal Systems
<p><span class="s1">ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 เป็นต้นมา โดยส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาในหลักสูตรเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในการประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษายิ่งขึ้น ภาควิชาฯ จึงดำเนินโครงการจัดทำ "วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง" ด้วยตระหนักว่า</span><span class="s1">การจัดทำวารสารเป็นภารกิจสำคัญยิ่ง เป็นแหล่งข้อมูลในการนำองค์ความรู้ ผลงานค้นคว้าวิจัย ความคิดเห็นทางวิชาการ ทั้งจากนักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอก ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกัน</span></p> <p><strong>วารสาร</strong><span class="s1"><strong>การบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง</strong> (Leadership Educational Administration Development Journal, Ramkhamhaeng University: LEAD) เป็นวารสารเกี่ยวกับการศึกษา ความเป็นผู้นำทางการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษา การพัฒนาและการจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อนำองค์ความรู้ ข้อค้นพบ ผลการศึกษา วิจัย นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างเป็นระบบ</span></p> <p><span class="s1">บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน <strong>"สามคน" </strong>ต่อบทความ</span></p> <p>วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสมาชิกของวารสารไทยออนไลน์ (ThaiJo)</p>
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1310
ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก
2024-11-24T09:25:41+07:00
ณัฐภูมิ จับคล้าย
nattapoomnaja@gmail.com
พัชรกฤษฎิ์ เนื้อไม้
phatcharakitn67@nu.ac.th
สุชาญ นาคน้อย
sucharnn67@nu.ac.th
สถิรพร เชาวน์ชัย
nattapoomj67@nu.ac.th
<p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ปีการศึกษา 2567 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.85 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</span></p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1454
แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2
2025-02-04T12:59:20+07:00
สุริษา บุญวัฒน์
6614470052@rumail.ru.ac.th
ปทุมพร เปียถนอม
p.piatanom@gmail.com
กมลทิพย์ ทองกำแหง
kthongkamhaeng@gmail.com
<p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 357 คน ซึ่งได้จาก</span><span class="s2">การสุ่มแบบแบ่งชั้น </span><span class="s1">และทำการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยอิงประสบการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ระดับมาก ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านสถานะทางการเงิน รองลงมา ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการผ่อนคลาย ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านการหาความรู้ ด้านการมีน้ำใจงาม และด้านการมีคุณธรรม ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาความสุขด้านสุขภาพ การพัฒนา</span><span class="s3">ความสุขด้านสถานะทางการเงิน </span><span class="s1">การพัฒนาความสุขด้านครอบครัว การพัฒนาความสุขด้านสังคม การพัฒนาความสุขด้านการผ่อนคลาย การพัฒนาความสุขด้านการมีน้ำใจงาม การพัฒนาความสุขด้านการมีคุณธรรม และการพัฒนาความสุขด้านการหาความรู้</span></p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1645
การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา
2025-04-21T09:54:38+07:00
ณัฐพล บัวอุไร
krunattapon@gmail.com
พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์
nattapon.bua@ku.th
ชุดา วิมุกตายน
nattapon.bua@ku.th
<p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความฉลาดรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy) สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา และ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบประเมินดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2567 จำนวน 241 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมิน AI Literacy ข้อคำถามเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ครอบคลุม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความเข้าใจและการใช้งาน AI (2) การประเมินและวิเคราะห์ AI อย่างมีวิจารณญาณ (3) จริยธรรมในการใช้ AI และ (4) การส่งเสริมการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้วย AI </span><span class="s1">ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความยาก (P-value) อยู่ระหว่าง 0.23 – 0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.31 – 0.67 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.877 และการกำหนดเกณฑ์ปกติ (Norms) โดยใช้ Z-score และ T-score ทำให้สามารถจำแนกระดับ AI Literacy ของครูผู้สอนได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก (22.4%) ค่อนข้างสูง (35.2%) ปานกลาง (28.6%) ค่อนข้างต่ำ (9.8%) และต่ำ (4.0%)</span></p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1660
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
2025-04-03T15:05:38+07:00
จิตต์อารีย์ บุตรษา
wanangja3@gmail.com
รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์
wanangja3@gmail.com
<p class="p1"><span class="s1">การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง ทำการศึกษากับตัวอย่างนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส จำนวน 1 แผน และ (2) แบบสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<em>M</em>) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง
https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1316
ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล
2024-12-09T18:10:10+07:00
นพกร สิรินพมณี
noppakorn.56@gmail.com
ขนิษฐา ปิยวรรณนุกุล
had201@hadammara.ac.th
ทองกร ดูสันเทียะ
Tongkorn.Tongkorn@gmail.com
ณัฐสรางค์ พัฒนไพศาลสิน
Krusang172@gmail.com
<p class="p1"><span class="s1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นยุคดิจิทัลเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในทุกๆ มิติของสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ความเข้าใจ<span class="Apple-converted-space"> </span>ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนในสังคมยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความเป็นผู้นำทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลองค์ประกอบของความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล 2) การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี 3) การบริหารจัดการหลักสูตร 4)การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และ 5) การติดตามและประเมินผล ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลที่กล่าวมาสามารถช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาประสบความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ </span></p>
2025-05-01T00:00:00+07:00
Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง