วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD <p><span class="s1">ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จัดการเรียนการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2537 เป็นต้นมา โดยส่งเสริมและสนับสนุนนักศึกษาในหลักสูตรเผยแพร่ผลงานวิจัยทั้งในการประชุมวิชาการ วารสารวิชาการ ระดับชาติ และนานาชาติ ให้เป็นที่ประจักษ์ เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษายิ่งขึ้น ภาควิชาฯ จึงดำเนินโครงการจัดทำ "วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง" ด้วยตระหนักว่า</span><span class="s1">การจัดทำวารสารเป็นภารกิจสำคัญยิ่ง เป็นแหล่งข้อมูลในการนำองค์ความรู้ ผลงานค้นคว้าวิจัย ความคิดเห็นทางวิชาการ ทั้งจากนักศึกษา คณาจารย์ นักวิชาการ ผู้สนใจทั้งภายในและภายนอก ได้แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ซึ่งกัน</span></p> <p><strong>วารสาร</strong><span class="s1"><strong>การบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง</strong> (Leadership Educational Administration Development Journal, Ramkhamhaeng University: LEAD) เป็นวารสารเกี่ยวกับการศึกษา ความเป็นผู้นำทางการศึกษา นวัตกรรมทางการศึกษา การพัฒนาและการจัดการศึกษาทุกระดับ เพื่อนำองค์ความรู้ ข้อค้นพบ ผลการศึกษา วิจัย นำมาตีพิมพ์เผยแพร่ แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาอย่างเป็นระบบ</span></p> <p><span class="s1">บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง จำนวน <strong>"สามคน" </strong>ต่อบทความ</span></p> <p>วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นสมาชิกของวารสารไทยออนไลน์ (ThaiJo)</p> ภาควิชาบริหารการศึกษาและอุดมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง Department of Educational Administration and Higher Ed th-TH วารสารการบริหารและความเป็นผู้นำทางการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง <p style="margin-right: 0px; margin-bottom: 0px; margin-left: 0px; padding: 0px;"><span style="color: #0d0d0d; font-size: 12.0pt;">The authors are solely accountable for the ideas and recommendations articulated in the articles published in the LEAD Journal. Should there be any inaccuracies, the authors accept full responsibility for such errors. </span></p> <p style="margin: 0px; padding: 0px;"> </p> <p style="margin: 0px; padding: 0px;"><span style="color: #0d0d0d; font-size: 12.0pt;">Moreover, the Editorial Board, Editorial Team, and Committee of the LEAD Journal are committed to maintaining the integrity of the principles reflected in the authors' contributions. </span></p> <p style="margin: 0px; padding: 0px;"> </p> <p style="margin: 0px; padding: 0px;"><span style="color: #0d0d0d; font-size: 12.0pt;">Consequently, Ramkhamhaeng University, the Editorial Board, Editorial Team, and Editors shall not be held liable for any outcomes arising from the authors' presentation of their ideas and recommendations within the LEAD Journal.</span></p> ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1310 <p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูในสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก ปีการศึกษา 2567 จำนวน 144 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามเกี่ยวกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.85 และตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา มีความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษา ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารเชิงกลยุทธ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษจังหวัดตาก มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01</span></p> ณัฐภูมิ จับคล้าย พัชรกฤษฎิ์ เนื้อไม้ สุชาญ นาคน้อย สถิรพร เชาวน์ชัย Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-01 2025-05-01 2 2 LEADRU0202e1310 LEADRU0202e1310 แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 2 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1454 <p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา และ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 357 คน ซึ่งได้จาก</span><span class="s2">การสุ่มแบบแบ่งชั้น </span><span class="s1">และทำการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และดัชนีความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 หาแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยอิงประสบการณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 7 คน และใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นขององค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ระดับมาก ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านสถานะทางการเงิน รองลงมา ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านการผ่อนคลาย ด้านครอบครัว ด้านสังคม ด้านการหาความรู้ ด้านการมีน้ำใจงาม และด้านการมีคุณธรรม ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งความสุขของสถานศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาความสุขด้านสุขภาพ การพัฒนา</span><span class="s3">ความสุขด้านสถานะทางการเงิน </span><span class="s1">การพัฒนาความสุขด้านครอบครัว การพัฒนาความสุขด้านสังคม การพัฒนาความสุขด้านการผ่อนคลาย การพัฒนาความสุขด้านการมีน้ำใจงาม การพัฒนาความสุขด้านการมีคุณธรรม และการพัฒนาความสุขด้านการหาความรู้</span></p> สุริษา บุญวัฒน์ ปทุมพร เปียถนอม กมลทิพย์ ทองกำแหง Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-01 2025-05-01 2 2 LEADRU0202e1454 LEADRU0202e1454 การพัฒนาแบบประเมินความฉลาดรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1645 <p class="p1"><span class="s1">การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินความฉลาดรู้ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy) สำหรับครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษา และ 2) สร้างเกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบประเมินดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือข้าราชการครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี ปีการศึกษา 2567 จำนวน 241 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบประเมิน AI Literacy ข้อคำถามเป็นแบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ครอบคลุม 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความเข้าใจและการใช้งาน AI (2) การประเมินและวิเคราะห์ AI อย่างมีวิจารณญาณ (3) จริยธรรมในการใช้ AI และ (4) การส่งเสริมการเรียนรู้และการแก้ปัญหาด้วย AI </span><span class="s1">ผลการวิจัยพบว่า แบบประเมินมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถาม (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 ค่าความยาก (P-value) อยู่ระหว่าง 0.23 – 0.76 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.31 – 0.67 ค่าความเชื่อมั่น (Reliability) ของ Cronbach’s Alpha เท่ากับ 0.877 และการกำหนดเกณฑ์ปกติ (Norms) โดยใช้ Z-score และ T-score ทำให้สามารถจำแนกระดับ AI Literacy ของครูผู้สอนได้เป็น 5 ระดับ ได้แก่ สูงมาก (22.4%) ค่อนข้างสูง (35.2%) ปานกลาง (28.6%) ค่อนข้างต่ำ (9.8%) และต่ำ (4.0%)</span></p> ณัฐพล บัวอุไร พิมพ์เพ็ญ เธียรสิทธิพงศ์ ชุดา วิมุกตายน Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-01 2025-05-01 2 2 LEADRU0202e1645 LEADRU0202e1645 การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1660 <p class="p1"><span class="s1">การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม) กรุงเทพมหานคร โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงทดลองแบบศึกษากลุ่มเดียววัด 2 ครั้ง ทำการศึกษากับตัวอย่างนักเรียน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัส จำนวน 1 แผน และ (2) แบบสอบปรนัยชนิดเลือกตอบ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (<em>M</em>) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (<em>SD</em>) และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างประชากร 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงสัมผัสและแรงไม่สัมผัสของนักเรียน หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ร่วมกับชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สูงกว่า ก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</span></p> จิตต์อารีย์ บุตรษา รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์ Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-01 2025-05-01 2 2 LEADRU0202e1660 LEADRU0202e1660 ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล https://so15.tci-thaijo.org/index.php/LEAD/article/view/1316 <p class="p1"><span class="s1">บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัล โดยมุ่งเน้นยุคดิจิทัลเป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางในทุกๆ มิติของสังคม การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ การเมือง สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม สิ่งสำคัญคือการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความรู้ความเข้าใจ<span class="Apple-converted-space"> </span>ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นความท้าทายของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความต้องการของผู้เรียนในสังคมยุคดิจิทัล ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีความเป็นผู้นำทางวิชาการเพื่อพัฒนาการศึกษาให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลองค์ประกอบของความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโดยประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วิสัยทัศน์ด้านดิจิทัล 2) การพัฒนาบุคลากรให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยี 3) การบริหารจัดการหลักสูตร 4)การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สื่อ และการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ และ 5) การติดตามและประเมินผล ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลที่กล่าวมาสามารถช่วยให้ผู้บริหารสถานศึกษาประสบความสำเร็จในการบริหารสถานศึกษายุคดิจิทัลได้อย่างมีประสิทธิภาพ </span></p> นพกร สิรินพมณี ขนิษฐา ปิยวรรณนุกุล ทองกร ดูสันเทียะ ณัฐสรางค์ พัฒนไพศาลสิน Copyright (c) 2025 มหาวิทยาลัยรามคำแหง https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2025-05-01 2025-05-01 2 2 LEADRU0202e1316 LEADRU0202e1316