จริยธรรมของผู้เขียน 
       
1. ไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่น โดยรับรองว่าผลงานที่ส่งมานั้นเป็นผลงานใหม่ ที่ไม่เคยได้รับการตีพิมพ์/เผยแพร่ในแหล่งใด ๆ มาก่อน 
       2.
ต้องนำบทความตรวจการพิมพ์ซ้ำด้วยระบบอักขราวิสุทธิ์ โดยมีเกณฑ์การตรวจสอบไม่เกิน 15% พร้อมแนบใบรับรองการตรวจสอบส่งมายังกองบรรณาธิการ
       3.
ต้องรายงานผลที่เกิดจากการทำวิจัย โดยไม่บิดเบือนข้อมูลหรือให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ
       4.
รับรองว่าผลงานที่ส่งเข้ารับการพิจารณาตีพิมพ์ เป็นผลงานของผู้เขียน และผู้เขียนร่วมตามชื่อที่ปรากฏไว้จริง
       5.
อ้างอิงผลงานวิชาการของผู้อื่นให้ครบถ้วน และระบุไว้ในเอกสารอ้างอิงตามหลักเกณฑ์ของวารสาร
       6.
เขียนบทความวิจัย หรือบทความวิชาการให้ถูกต้องตามรูปแบบที่กำหนดไว้ในวารสาร
       7.
ต้องระบุแหล่งทุนที่สนับสนุนในการทำวิจัยและระบุผลประโยชน์ทับซ้อน (หากมี)

จริยธรรมของบรรณาธิการและกองบรรณาธิการ 
       
1. มีการกลั่นกรอง และพิจารณาคุณภาพของบทความ เพื่อดำเนินการเผยแพร่ในวารสาร โดยคำนึงถึงขอบเขต และวัตถุประสงค์ของวารสาร รวมทั้งทุกผลงานต้องผ่านการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง
       2.
ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เขียน และผู้ประเมินบทความแก่บุคคลอื่น ๆ
       3.
ไม่รับบทความที่เคยตีพิมพ์/เผยแพร่ในแหล่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว
       4.
ไม่มีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน ผู้ประเมิน และกองบรรณาธิการและบุคคลอื่น ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
       5.
ต้องรักษามาตรฐาน รวมถึงพัฒนาวารสารให้มีคุณภาพและมีความทันสมัยอยู่เสมอ
       6.
ปราศจากอคติส่วนตัว ต้องตัดสินโดยบนพื้นฐานคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง และพิจารณาความถูกต้องเหมาะสมชัดเจนในหลักฐานข้อมูล
       7.
มีการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในบทความโดยใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ และเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการ 
       8.
ก่อนการ “ตอบรับ” หรือ ‘ปฏิเสธการเผยแพร่” บทความนั้น ๆ ต้องผ่านการตรวจสอบการคัดลอกผลงานของผู้อื่นในกระบวนการประเมินบทความ หากพบการคัดลอกผลงานดังกล่าว บรรณาธิการจะติดต่อผู้เขียนหลักเพื่อขอคำชี้แจง

จริยธรรมของผู้ประเมินบทความ 
       
1. ต้องรักษาความลับ และไม่เปิดเผยข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความแก่บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้อง
       2. ควรแจ้งปฏิเสธการประเมินบทความนั้น ๆ หากตนเองไม่สามารถให้ข้อเสนอแนะอย่างอิสระได้ เนื่องจากอาจมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับผู้เขียน เช่น เป็นผู้ร่วมโครงการ หรือรู้จักผู้เขียนเป็นการส่วนตัว หรือเหตุผลอื่น ๆ
       3. รับประเมินบทความที่มีความถนัด หรือมีคุณวุฒิ หรือสาขาวิชาที่ตนมีความเชี่ยวชาญ โดยพิจารณาคุณภาพของเนื้อหา การวิเคราะห์ ความเข้มข้นของผลงานที่มีต่อสาขาวิชานั้น ๆ หากมีส่วนใดของบทความที่มีความเหมือนหรือซ้ำซ้อนกับผลงานชิ้นอื่น ๆ ผู้ประเมินบทความต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบด้วย
       4. ต้องไม่นำข้อมูลบางส่วน หรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
       5. กรณีพบว่า มีส่วนใดส่วนหนึ่งของบทความที่เหมือนกันหรือซ้ำซ้อนกับผลงานอื่น ๆ ต้องแจ้งให้บรรณาธิการทราบ พร้อมแสดงหลักฐานเชิงประจักษ์