การศึกษาผลกระทบของบทวิจารณ์ออนไลน์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทฑและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการรับชมการวิจารณ์สินค้าของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล 2) ศึกษาระดับความสำคัญของปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์(การรีวิวสินค้าออนไลน์)ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์(การรีวิวสินค้าออนไลน์)ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 200 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ โปรแกรม G* Power โดยวิธีการสุ่มแบบตามความสะดวก และใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดยใช้วิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)
ผลการศึกษา พฤติกรรมการรับชมการรีวิวสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล พบว่า สื่อที่ใช้ในการรับชมการวิจารณ์สินค้า คือ รับชมผ่านโทรศัพท์มือถือ(Smartphone) ช่องทาง Tiktok โดยรับชมในช่วงเวลา 18.01 - 24.00 น. บุคคลมีอิทธิพลต่อการรับชมคือ ตัวเอง และรับชมเพื่อเป็นช่องทางในการพิจารณาเลือกสินค้าออนไลน์ ปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์(การรีวิวสินค้าออนไลน์)ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยผู้บริโภคให้ความสำคัญในด้านข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านผู้เขียนบทวิจารณ์ออนไลน์ และด้านผลลัพธ์ของการบทวิจารณ์ออนไลน์ ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณระหว่างปัจจัยด้านบทวิจารณ์ออนไลน์ (การรีวิวสินค้าออนไลน์) ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล คือ ปัจจัยด้านจำนวนของการบทวิจารณ์ออนไลน์ ด้านผู้เขียนบทวิจารณ์ออนไลน์ และด้านผลลัพธ์ของการบทวิจารณ์ออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งตัวแปรทั้ง 3 ด้านสามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ได้ร้อยละ 76.40
Article Details
References
กัญญ์กานต์ กุญโคจร และ สมชาย เล็กเจริญ. (2564). อิทธิพลของคุณลักษณะของวีล็อกเกอร์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการท่องเที่ยวของผู้ติดตามช่องวีล็อกท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 41(4), 83-103.
จีราวัฒน์ คงแก้ว. (2558). การตลาดบล็อกเกอร์ขาใหญ่โลกโซเชียล. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 จาก www.bangkokbizenews.com
ธนชาติ นุ่มนนท์. (2563). คนไทยใช้เวลากับอินเทอร์เน็ต สูง ‘อันดับห้า’ ของโลก. กรุงเทพธุรกิจ. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 https://www.bangkokbiznews.com/news/detail
ธวัชชัย วรพงศธร และ สุรีย์พันธุ์ วรพงศธร. (2561). การคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับงานวิจัย โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป G*Power Retrieve on January. สืบค้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2567 จาก http://advisor.anamai.moph.go.th
นรินทร์ เย็นธนกรณ์. (2558). 10 วิธีการทำ Viral Video ให้ประสบความสำเร็จ. สืบค้นเมื่อ 30 กันยายน 2567 จาก https://www.marketingoops.com
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
พรรณพิลาศ กุลดิลก. (2558). กลยุทธ์การสร้างความน่าเชื่อถือในการสื่อสารการตลาดผ่านบล็อกเกอร์และความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการตัดสินใจของผู้บริโภค. ชลบุรี: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริโสภา ฮอฟแมน. (2564). อิทธิพลของข้อมูลจากการรีวิวเครื่องสาอางของบิวตี้บล็อกเกอร์ที่ส่งผลต่อกระบวนการตัดสินใจของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7(3), 304-310.
Birch-Jensen, J. (2020). Travel vloggers as a source of information about tourist destinations. (Research project, Umeå University). Retrieved from https://www.diva-portal.org/smash/get/diva2:1438168
Choi, W., & Lee, Y. (2019). Effects of fashion vlogger attributes on product attitude and content sharing. Fashion and Textiles, 6(6), 1-18.
Guo, Wang, & Wu, (2020). Positive emotion bias: Role of emotional content from online customer reviews in purchase decision. Journal of Retailing and Consumer Services, 5(2), 101-891.
Lee, J. E., & Watkins, B. (2016). YouTube vloggers’ infuence on consumer luxury brand perceptionsand intentions. Journal of Business Research, 69, 5753-5760.
Munar, A. M., & Jacobsen, J. K. S. (2014). Motivations for sharing tourism experiences through socialmedia. Tourism Management, 43, 46-54.
Neilsen. (2012). Personal recommendations and consumer opinions posted online are the most trusted forms of advertising globally: The Nielsen Company. Retrieved. from Http://blog.nielsen.com/ nielsenwire/wpcontent/uploads/2009/07/pr_global-study_07709.pdf.