ผลของการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็ก เป็นการวิจัยแบบแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กชายและเด็กหญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ที่ศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนวัดราษฎร์บำรุง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 25 คน ได้มาโดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน แบบประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย แบบบันทึกการสังเกตพัฒนาการการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย การวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความสามารถในการเคลื่อนไหนร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะกลไกลการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย 3 ด้าน คือ ด้านความคล่องตัว ด้านการทรงตัว และด้านประสานสัมพันธ์ หลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมีคะแนนเฉลี่ยในภาพรวมสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน เมื่อนำคะแนนเฉลี่ยทักษะกลไกลการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยโดยภาพรวม ก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านมาเปรียบเทียบกัน พบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะกลไกลการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัย หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และจากการสังเกตค่ามีค่าเฉลี่ย พบว่า มีค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนการจัดกิจกรรมมีค่าเท่ากับ 9.24 มีการกระจายตัวของคะแนนการทดสอบก่อนเรียนอยู่มาก และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานหลังการจัดกิจกรรม มีค่าเท่ากับ 0.07 มีค่าลดลง คะแนนหลังการจัดกิจกรรมที่ใกล้เคียงกันมากขึ้น ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะกลไกลการเคลื่อนไหวร่างกายสำหรับเด็กปฐมวัยรายด้านก่อนและหลังได้รับจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้าน
Article Details
References
วราภรณ์ สวัสดิ์เสนา. (2020). ผลของการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านต่อพัฒนาการทางร่างกายและการสื่อสารของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
มณีรัตน์ ลีลา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ของเด็กปฐมวัยระดับชั้นบ้านสาธิต โดยการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ(รายงานการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน). กรุงเทพฯ: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวน ดุสิต.
โรงเรียนวัดวชิราลงกรณวราราม. (2560). หลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2560. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 4.
พรรณี นิลสุวรรณ์. (2555). การพัฒนาทักษะทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยการใช้เกมการละเล่นพื้นบ้าน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา)
สุขพัชรา ซิ้มเจริญ และคณะ. (2560). ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา. ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑. บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท จำกัด.
สุภาพรรณ ศรีสุข. (2561). กล้ามเนื้อมัดใหญ่ สำคัญอย่างไรต่อการเรียนรู้ของลูก. สืบค้น 16 สิงหาคม 2565. จาก https://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/69805/-blogparpres-par
อัมพิกา พรรณราย. (2022). การศึกษาผลการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่มีต่อพัฒนาการทางสังคมและอารมณ์ของเด็กปฐมวัย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Chirawut, T. (2021). The effect of traditional play on young children's physical development. Journal of Thai Physical Education, 12(2), 15-30.
Penrose, T., & Watson, M. (2015). The impact of physical play on young children's development. Early Child Development and Care.
Piaget, J. (1952). The origins of intelligence in children. International Universities Press.
Silliman, S., & McMullan, D. (2013). The role of physical activities in child development. Journal of Physical Education, 65(2), 220 – 240.
Suriya, S. (2020). Traditional Thai games and their impact on the balance and coordination skills of young children. Thai Journal of Child Development, 5(4), 40-51.
Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The development of higher psychological processes. Harvard University Press.
World Health Organization (WHO). (2020). Physical activity and young children. WHO Guidelines on Physical Activity and Sedentary Behaviour.