Factors Affecting the Efficiency of Online Accounting System Usage in Small and Medium-Sized Enterprises in Nonthaburi Province
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี 2)ศึกษาประสิทธิภาพการใช้ระบบบัญชีออนไลน์ และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบบัญชีออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้ข้อมูลเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากตัวแทนธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 385 แห่ง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยคุณลักษณะของธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดนนทบุรีโดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรกได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร รองลงมาได้แก่ ด้านลักษณะของบุคลากร ด้านเทคโนโลยี และด้านลักษณะโครงสร้างองค์กร 2) ประสิทธิภาพการใช้ระบบบัญชีออนไลน์โดยรวมทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านที่อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรกได้แก่ ด้านความถูกต้องและความรวดเร็วในการจัดทำบัญชี รองลงมาได้แก่ ด้านความครบถ้วนและทันเวลาของการรายงานงบการเงิน ด้านความสามารถในการตรวจสอบและติดตามผล และด้านประสิทธิภาพของการควบคุมภายใน และ 3) ปัจจัยที่มีอิทธิผลส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ระบบบัญชีออนไลน์ เรียงตามลำดับมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหารองค์กร ปัจจัยด้านลักษณะของบุคลากร ปัจจัยด้านเทคโนโลยี และปัจจัยด้านลักษณะโครงสร้างองค์กร
Article Details
References
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2565). ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชี. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2567). สถิติและจำนวนผู้ประกอบการธุรกิจ. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.
ชฎาพา สุขสมัย. (2563). เทคโนโลยีกับการบัญชีในยุค 4.0. ค้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.daa.co.th/en/news/audit-news/item/219
ณฐมน พิจิตรไพรวัลย์, ประเวศ เพ็ญวุฒิกุล และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและตัดสินใจเลือกใช้ระบบบัญชีออนไลน์ผ่านเทคโนโลยีลาวด์คอมพิวติ้ง. วารสารวิชาชีพบัญชี. 13(37) 73-83.
นฤมล เพ็งจันทร์ และสุวิทย์ ไวยทิพย์. (2565). ประสิทธิภาพของระบบบัญชีออนไลน์แบบคลาวด์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจและนวัตกรรม มทร. พระนคร (JBI). 1(1), 21-35.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประสูติ ช้างสีสุก และฐิตาภรณ์ สินจรูญศักดิ์ (2567) สมรรถนะและคุณภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของข้อมูลในงบการเงินของกลุ่มธุรกิจการผลิตขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 14(3), 11-25.
ปิยะวัน เพชรหมี, สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2562). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจผ้าทอพื้นเมืองของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารบริหารธุรกิจเศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 14(3), 146-164.
รัชนี ตันสกุล และปวีนา กองจันทร์. (2560). การประเมินกิจกรรมการควบคุมสินค้าคงเหลือ กรณีศึกษา ศูนย์หนังสือภาคใต้การกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย. ขอนแก่น: คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ศิริรัฐ โชติเวชการ. (2561). พัฒนาการของระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ที่น่าจับตามอง. จดหมายข่าวสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. 65, 24-25.
สิทธิชัย ทรัพย์แสนดี. (2564). การบริหารสํานักงานบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของสํานักงานบัญชีดิจิทัลในประเทศไทย. Journal of Roi Kaensarn Academi. 6(10), 125-139.
สุวิมล ตรีคงธรรมกุล. (2562). ประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศทางการบัญชีผ่านสื่อดิจิทัลที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของผู้บริหารในสำนักงานบัญชีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
อภิญญา ดวงภักดี. (2560). ปัจจัยมีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพของการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีเพื่อการวางแผนทรัพยากรกรณีศึกษา บริษัทผลิตไม้ยางพาราแปรรูปในประเทศไทย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
อภิวัฒน์ หวังมีชัย. (2563). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพร้อมของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อรองรับการใช้บริการระบบบัญชีออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
Cronbach, Lee J. (1970). Essential of Psychology Testing. 3rd ed. New York: Harper and Row, Publishers, Inc.
Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. Third edition. New York: Harper and Row Publication.