ความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือ ของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอนของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 จำนวน 191 คน โดยผู้บริหารเลือกแบบเจาะจง ครูผู้สอนใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามตอบสนองคู่ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับสภาพปัจจุบัน เท่ากับ 0.92 สภาพที่พึงประสงค์ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน ของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 อยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน รองลงมาคือด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการพัฒนาทักษะการทำงานกลุ่ม สภาพที่พึงประสงค์ ของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดคือ ด้านการเสริมประสบการณ์ทางวิชาชีพ มีรองลงมาคือด้านการวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือด้านการให้ความช่วยเหลือแก่ครูโดยตรง ลำดับความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบร่วมมือของโรงเรียนในกลุ่มอำเภอกันทรวิชัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 1 เรียงตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาหลักสูตร (PNI Modified = 1.07) 2) ด้านการเสริมประสบการณ์วิชาชีพ (PNI Modified = 1.06) 3) ด้านทักษะการทำงานกลุ่ม (PNI Modified = 0.23)
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภาณุวัฒน์ คาสินธ์. (2553). ความต้องการพัฒนาการวิจัยในชั้นเรียนของครูในกลุ่มโรงเรียนแหลมบัว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐมเขต 2 จังหวัดนครปฐม. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา).
ศักรินทร์ สุวรรณโรจน์. (2562) การปฎิรูปการศึกษากับการพัฒนาวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครู
สันติ หัดที. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นการนิเทศภายในโดยใช้ ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพสำหรับโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสารคาม).
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสถียร เที่ยงธรรม. (2563). การนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสามัญศึกษาจังหวัดอุดรธานี. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
อวัศยา แสงทอง. (2564). การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนวัดจันทราวาส (ศุขประสารราษฎร์). (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
อัญชลี ธรรมะวิธีกุล (2552) เทคนิคการนิเทศ: ระบบพี่เลี้ยงและการให้คำปรึกษา (Mentoring). สืบค้นจาก https://panchalee.wordpress.com/2009/07/28/mentoring/.
Glickman, C. D. (2004). Supervision and Instructional Leadership: A Developmental Approach. Boston: Allyn & Bacon.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.