การพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่อง หลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3

Main Article Content

ศิริมงคล ทนทอง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา 2) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้จากการเรียนรู้ตามหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา โดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 80 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อหลักสูตรและกระบวนการประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ด้วยกระบวนการสอน ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2-ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 76 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบประเมินความเหมาะสมของหลักสูตรและกระบวนการสอน และแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) หลักสูตรและกระบวนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังววารีวนราษฎร์วัฒนาผลการประเมินความเหมาะสมภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยรวม 4.65 โดยหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ประกอบด้วย ความนำ วิสัยทัศน์ หลักการ จุดมุ่งหมาย โครงสร้างหลักสูตร สาระการเรียนรู้ คำอธิบายรายวิชา แนวทางการจัดการเรียนรู้ สื่อ/แหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล ส่วนกระบวนการสอนประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มี 4 ขั้น คือ (1) การกระตุ้นความสนใจ (E : Engagement) (2) การจัดกิจกรรม 5 ขั้นตอนการสอนประวัติศาสตร์ (A : Activity) (3) การสะท้อนผล (R : Reflection) และ (4) การประเมินผล (A : Assessing) 2) ผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรและกระบวนการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทั้ง 3 ด้าน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยด้านความรู้ มีคะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละ 85.29 ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน มีคะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละ 89.51 และด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีคะแนนค่าเฉลี่ยร้อยละ 94.23 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อหลักสูตรประวัติศาสตร์ท้องถิ่น เรื่องหลวงปู่ชื่น เขมจาโร ของโรงเรียนวังวารีวนราษฎร์วัฒนา ระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. สืบค้นจาก https://moe360.blog/2023/01/04/policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/.

จริยา ศรีเพชร. (2550) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเรื่องคลองมหาสวัสดิ์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ทีฆกุล คำงาม. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นโดยใช้กระบวนการเรียนการสอน DACIR ที่มีต่อการเรียนรู้มโนทัศน์ทางประวัติศาสตร์ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2548). การใช้แนวคิดเรื่องศูนย์กลางและเครือข่ายในการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: สถาบันทักษินคดีศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเรียง ขจรศิลป์. (2543). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พี.เอ็น.การพิมพ์.

ปัณฑิตา ไชยโย และณัฐเชษฐ์ พูลเจริญ. (2566). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเมืองน่าน โดยใช้ชุมชนเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ. วารสารปัญญา, 30(1), 37-48.

พรทิพย์ หุ่นสะดี. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นหน่วยการเรียนรู้อำเภอสัตหีบ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

พัชรี ม้าลออเพชร. (2558). การพัฒนาหลักสูตรรายวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์เมืองกาญจนบุรี สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

มยุรี วีระประเสริฐ. (2558). สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีกับการศึกษา ประวัติศาสตร์และโบราณคดี. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุ่งอรุณ หัสชู. (2553). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นรายวิชาเพิ่มเติม ท16201 นิทานพื้นบ้าน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดวังก์วิเวการาม อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วินัย พงศ์ศรีเพียร. (2543). ครูกับการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ไทยในคู่มือการจัดกิจกรรมการ เรียนการสอนประวัติศาสตร์ : ประวัติศาสตร์ไทยจะเรียนจะสอนกันอย่างไร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา กรมการศาสนามหาวิทยาลัยศิลปากร.

สกุลวัฒน์ รัชนีกร, สภณภัทร ศรีแสงยงค์ และสฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2560). การพัฒนาหลักสูตรหน่วยการเรียนรู้เรื่องเมืองพัทยา กล่มุสาระสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนาธรรม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 329-342.

สามารถ สีทอง. (2563). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น เรื่อง เมืองโบราณบางพาน รายวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์).

สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: สำนักงานกระทรวงศึกษาธิการ.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2553). พัฒนาทักษะการคิดพิชิตการสอน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: เลี่ยงเชียง.

สุริยนต์ กัลยาณี. (2566). การจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ผ่านแหล่งเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจันทบุรี. สืบค้นจาก https://www.chan1.net/oit/2817/chan1.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2551). การศึกษาในวิถีชุมชน : การสังเคราะห์ประสบการณ์ในชุดโครงการวิจัย ด้านการศึกษากับชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2548). ประวัติศาสตร์เพื่อชุมชน : ทิศทางใหม่ของการศึกษาประวัติศาสตร์ (รายงานการวิจัย).กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

Taba, H., & Spalding, W. B. (1962). Curriculum development: Theory and practice (Vol. 37). New York: Harcourt, Brace & World.

Tyler, R.W. (1949). Basic principles of curriculum and instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Similar Articles

You may also start an advanced similarity search for this article.