ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

Main Article Content

ชุติมา สิงห์แจ่ม
ขวัญจิรา เปาวะนา
พรชิตา โมทรรม
สุภนิดา อารักษ์ศักดิ์
จิรภัทร เริ่มศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ประชาชนที่มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 400 คน โดยการสุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มตามสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม และสถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่าความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บัตรสวัสดิการในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สอดคล้องกับบริบทของชุมชน และแอพพลิเคชั่นเป๋าตังสำหรับชำระเงินผ่านโทรศัพท์สมาร์ทโฟน มีความสะดวกเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จารุวิทย์ ศิริพรรณปัญญา. (2564). ความพึงพอใจของประชาชนต่อโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในเขตจังหวัดมหาสารคาม. (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).

พิมสุวรรณ น้ำทรัพย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของชาวบ้านในชุมชน กรณีศึกษาบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ตำบลคำโตนด อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารรัฐประศาสนศาสตร์และการจัดการสังคม, 1(2), 52–64.

เลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). ปัญหาความเหลื่อมล้าและความยากจนในสังคมไทย. วารสารไทยคู่ฟ้า, (เมษายน–มิถุนายน), 5-15.

วิษณุ ปัญญายงค์. (2562). การนำนโยบายบัตรสวัสดิการแห่งรัฐไปปฏิบัติในเขตเทศบาลตำบลบ้านด่าน อำเภอบ้านด่าน จังหวัดบุรีรัมย์. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์).

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2556). นโยบายสาธารณะ: แนวคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: เสมาธรรม.

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2561). มาตรการสวัสดิการแห่งรัฐนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน. สืบค้นจาก https://www.thaigov.go.th/ebook/contents/detail/121#book/.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). อิทธิพลของการใช้บรรทัดฐานทางสังคมเป็นเครื่องมือ เพื่อควบคุมพฤติกรรมการบริโภคในบริบทของนโยบาย ประชานิยม. Economics and Public Policy Journal, 8(15), 53–75.

สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต. (2561). บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ. Journal of Communication Arts, 36(2), 52–65.