ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม

Main Article Content

สุทธิรักษ์ ประจงกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ และครูผู้สอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม ที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2566 จำนวน 320 คน ซึ่งประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ จำนวน 35 คน และครูผู้สอน จำนวน 250 คน โดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นโดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน การบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคาม โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยอยู่ในระดับมากทุกด้าน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์การบริหารงานวิชาการ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน 2) ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามหาสารคามโดยรวมและรายด้าน พบว่า พิสัยของดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) มีค่าอยู่ระหว่าง 0.291 - 0.355 รายการที่เป็นความต้องการจำเป็นเร่งด่วนมีจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ เช่น การส่งเสริมให้ครูจัดกระบวนการเรียนรู้ โดยจัดเนื้อหาสาระและกิจกรรม ให้สอดคล้องกับความสนใจ ความถนัดของผู้เรียน (2) ด้านการพัฒนาและใช้สื่อเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา เช่น การจัดหาสื่อเทคโนโลยีเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอน และ (3) ด้านการวัดและประเมินผล เช่น การวัดผลและประเมินผล ตามสภาพจริงครอบคลุมความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธันยาภรณ์ สังข์เมือง. (2565). ความต้องการจำเป็นและแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลกเขต1. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).

นฤมล สารขัติ. (2563). แนวทางการบริหารการนิเทศงานวิชาการของโรงเรียนแม่จันวิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงราย. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย).

นิภาพร พินิจมนตรี. (2564) การพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิชาการแบบมีส่วนร่วมสำหรับสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

มนัสนันท์ เทียนชัยทัศน์. (2564). กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี ตามแนวคิดสมรรถนะการเสริมสร้างขีดความสามารถชุมชน. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

วราภรณ์ ศรีจันทร์พาล. (2565). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาพยาบาลในศตวรรษที่ 21 สถาบันพระบรมราชชนก. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วีระยุทธ ไตรยมูล. (2560). สภาพปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). คู่มือดำเนินการพัฒนาหลักสูตรการพัฒนา ผู้นำการเปลี่ยนแปลง เพื่อรองรับการกระจายอำนาจสำหรับครูและศึกษานิเทศก์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560–2579. กรุงเทพฯ: พริกหวาน กราฟฟิค.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2562). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หวานใจ เวียงยิ่ง. (2564). กลยุทธ์การบริหารเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร).

Grossman, P. (2009). Teaching Practice: A Cross-Professional Perspective. Teachers College Record, 111(9), 2055–2100.

Hughes, T. (2003). The Evolution of Large Technological System. In W. Bijker (Ed.), The Social Construction of Technological Systems: New Directions in the Sociology and History of Technology. Cambridge, UK: Cambridge University.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Misty, M.K. (2007). Academic Optimism and Community Engagement in Urban Schools. Journal of Educational Administration, 49(5), 65-68.

Olsen, J. L. (2010). A grounded theory of 21st century skills instructional design for high school students. New England: University of Hartford, Connecticut.

Smith, P.A. (2007). Academic Optimism and Student Achievement in Urban Elementary Schools. Journal of Educational Administration, 45(5), 556–568.

UNESCO. (2002). Principle Regional Office for Asia and the Pacific. Education in Asia and Pacific, 26(3), 66.