ประสิทธิผลการบริหาร โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา อำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนและครูในโรงเรียนขยายโอกาสในอำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 176 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ ใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในอำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความสามารถในการแก้ปัญหาภายในโรงเรียน ด้านความสามารถในการปรับเปลี่ยนและพัฒนาโรงเรียน ด้านความสามารถในการพัฒนานักเรียนให้มีทัศนคติทางบวก ด้านความสามารถในการผลิตนักเรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบประสิทธิผลในการบริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในอำเภอสุวรรณคูหา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มี ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงานต่างกันมีความคิดเห็นในภาพรวมไม่แตกต่างกัน
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิก.
กัลยา วานิชยบัญชา. (2557). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติและที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น
พิมพรรณ สุริโย. (2552). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 9 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด).
ภรณี กีร์ติบุตร. (2529). การประเมินประสิทธิผลขององค์การ. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5). ชลบุรี: มนตรี.
ลัดดาวรรณ นัดดาเทพ. (2557). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
สุธี สุทธิสมบูรณ์ และสมาน รังสิโยกฤษณ์. (2549). หลักการบริหารเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: ประชาชน.
เสนาะ ติเยาว์. (2551). หลักการบริหาร. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Paul E. Mott. (1972). The Characteristics of Effective Organization. New York: Harper and Row.
Steers. R. M. (1990). Organizational effective: A Behavioral view. California: goodyear Publishing Company, Inc.