การใช้เกมศึกษา Word Wall ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม เรื่อง What should you do? ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สกร.อำเภอละแม

Main Article Content

ปัณฑรี พรมเสนะ
ประไพศรี คงตระกูล
วรรณิษา บัวเมือง
สุรีวัลย์ ลิ้มพิพัฒนกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้นวัตกรรมเกมการศึกษา Word wall ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาอังกฤษ เรื่อง What should you do? เรื่อง สัญลักษณ์และป้ายประกาศต่างๆ ของนักศึกษา 2) เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม (พต31001) เรื่อง สัญลักษณ์และป้ายประกาศต่างๆ สำหรับนักศึกษา และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้เกมการศึกษา Word wall ในการจัดการเรียนรู้การกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาที่เรียนวิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2564 โดยแยกนักศึกษาที่มีผลการทดสอบ เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง และกลุ่มอ่อน เลือกนักศึกษากลุ่มอ่อน มาเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกมการศึกษา Word Wall ที่สร้างขึ้นมีลักษณะเป็น ล้อสุ่ม ค้นหาคำ จับคู่ และแบบทดสอบในรูปแบบเกม True or False ที่สร้างขึ้นจาก Word wall จำนวน 20 ข้อ ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าความเที่ยงตรง ความยากง่าย และแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน ด้วยเกมการศึกษา Word Wall ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนใช้เกมศึกษา Word Wall ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม เรื่อง What should you do? ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย สกร.อำเภอละแม พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 2. นักศึกษาใช้เกมศึกษา Word Wall ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม เรื่อง What should you do? ทำให้ผลทางการเรียนสูงขึ้น 3. จากผลการประเมินความพึงพอใจ ใช้เกมศึกษา Word Wall ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาภาษาอังกฤษเพื่อชีวิตและสังคม เรื่อง What should you do? มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2562). กลยุทธ์อาวุธของผู้นำ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์ และ สำลี ทองธิว. (2552). การวิจัยทางการศึกษา: หลักและวิธีการสำหรับนักวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ไพเราะ พุ่มมั่น. (2562). การนิเทศแบบเสริมพลัง. สืบค้น 20 พฤศจิกายน 2563. จาก http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9789743001413.

วิทัศน์ ฝักเจริญผล, กนิษฐา เชาว์วัฒนกุล, พินดา วราสุนันท์, กุลธิดา นุกูลธรรม, สุมิตร สุวรรณ, สินีนุช สุวรรณาภิชาติ และ กิติศาอร เหล่าเหมณี. (2563). ความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ภายใต้สถานการณ์ระบาดไวรัส Covid-19. วารสารศาสตร์การศึกษาและการพัฒนามนุษย์, 4(1), 44-61.