การพัฒนา Application MLS Chumphon ให้เอื้อต่อผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ของ สกร.อำเภอเมืองชุมพร

Main Article Content

ประยงค์ ขันทอง
ประไพศรี คงตระกูล
ขนิฐา พรหมนุช
วาสุรัตน์ เต็มสังข์
วิไลวรรณ โมราศิลป์
ศิริวรรณ นาคทองรูป
อลิษา คงจูด
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา Application MLS Chumphon ที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทดลองใช้ Application MLS Chumphon และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ Application MLS Chumphon ใน 6 ด้าน ดังนี้ ประกอบด้วย 1) เกี่ยวกับการพัฒนา 2) แนวคิดเกี่ยวกับ Application 3) แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนา Application 4) แนวคิดเกี่ยวกับโมบายแอปพลิเคชัน (Mobile Application) 5) งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และ 6) กรอบแนวคิดในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักพัฒนา Application MLS Chumphon ครู กศน.ตำบล และนักศึกษาผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอเมืองชุมพร ปีการศึกษา 2564 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาแอพพลิเคชันเพื่อการจัดการข้อมูลสารสนเทศ Application MLS Chumphon ดังกล่าวจะเป็นตัวช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกให้ผู้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถที่จะจบการศึกษาได้ตามโครงสร้างหลักสูตร และ สัดส่วนในการจบการศึกษามีสูงขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

คมสันต์ ประจำจิตร. (2562). การบริหารระบบสารสนเทศ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 4(1), 1-17.

ชินวัจน์ งามวรรณากร. (2562). การพัฒนาแอปพลิเคชันสื่อการเรียนรู้บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ เรื่อง ภาษาอังกฤษสาหรับนักสารสนเทศ. ยะลา: คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ชุติมา ปาลวิสุทธิ์ และ วรวุฒิ มั่นสุขผล. (2563). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2 โรงเรียนอนุบาลราชบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(2), 89-102.

ญาดา อรรถอนันต์, นิธิดา บุรณจันทร์ และ สุวรรณา สมบุญสุโข. (2560) แอปพลิเคชันส่งเสริมการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษสำหรับเด็กบกพร่องทางการได้ยิน. ใน การสัมมนาวิชาการระดับชาติด้านคนพิการ ครั้งที่ 9 ปี 2560 (น. 194-206). รุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ธันยา นวลละออง และ นงลักษณ์ ปรีชาดิเรก. (2558). การสร้างเกมการเรียนรู้สามมิติเพื่อเสริมสร้างทักษะภาษาอังกฤษตามทฤษฎีพหุปัญญาของนักเรียนผ่านเทคโนโลยี Augmented reality บนอุปกรณ์แท็บเล็ต. วารสารไอซีทีศิลปากร, 2(1), 11-27.

ธีรเดช บุญนภา, จักรกฤษณ์จันทรจรัส, ภัทรพล บัวงาม และ มงคลชัย มีเกษร. (2558). การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมแต่งบนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์. ใน การประชุมวิชาการเรื่อง The 3th ASEAN Undergraduate Conference in Computing (AUC2) (น. 1-6). ฉะเชิงเทรา: มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

นฤมล อินทิรักษ์. (2561). การพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวจังหวัดมหาสารคาม โดยใช้เทคโนโลยีเสมือนจริง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุรีวิยาสาส์น.

เอมย์วิกา พุทธรักษา, ธานิล ม่วงพูล, อวยไชย อินทรสมบัติ และ ปิติพล พลบูล. (2560) ได้ทำการศึกษาเรื่อง การพัฒนาสื่อการเรียนรู้เรื่องคำราชาศัพท์ บนระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “การจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม” ครั้งที่ 3. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and psychological measurement, 30(3), 607-610.