แนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพร

Main Article Content

ธวัชชัย อิสโร
ประไพศรี คงตระกูล
อรทัย ทองพงษ์
กิตติชัย สุพรรณดิษฐ์
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพร 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพร โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของแนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพรในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และดัชนีความต้องการจำเป็นในภาพรวม คือ 0.893 (PNI Modified = 0.893) แนวทางการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอหลังสวน สังกัดสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดชุมพรในครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเสนอเป็น 6 ขั้นตอน 13 แนวทาง ซึ่งได้แก่ 1) การเตรียมการและวางแผนการนิเทศ จำนวน 2 แนวทาง 2) การดำเนินการนิเทศ จำนวน 2 แนวทาง 3) การประชุม จำนวน 3 แนวทาง 4) การประเมิน จำนวน 2 แนวทาง 5) การให้ข้อมูลย้อนกลับจำนวน 2 แนวทาง และ 6) การรายงานสรุปผล จำนวน 2 แนวทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานต์ธีรา ธรรมสา. (2565). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในการศึกษาไทยยุค 4.0 สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

จตุภูมิ เขตจตุรัส. (2565). ระเบียบวิธีวิทยาการประเมิน. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ชมพูนุช โยธี. (2558). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 3. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปิยนุช กาญจนะกันโห. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในของสถานศึกษาขนาดเล็กสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

วรรณิภา ไชยมาตย์. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคามเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(3), 116-128.

สรรเพชญ ศิริเกตุ. (2563). การพัฒนารูปแบบการนิเทศภายในแบบมีส่วนร่วมของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดกาฬสินธุ์. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สันติ อุดคำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการนิเทศภายในแบบสอนแนะนำสำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). แนวทางการนิเทศภายในโดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). เอกสารแนวทางการนิเทศภายในด้านการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551). ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพการศึกษา : ระเบียบวาระแห่งชาติ (พ.ศ. 2551-2555). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

สำนักงานส่งเสริมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย. (2553). คู่มือแนวทางการนิเทศภายในสถานศึกษาสังกัด สำนักงาน กศน. กรุงเทพฯ: หน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานส่งเสริมการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.