การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบ CIPPA MODEL เรื่อง บทร้อยกรอง รายวิชาภาษาไทย (พท21001) ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอหนองพอก

Main Article Content

ฐิติยา รัดอัน
สุรัติ วิภักดิ์
ปัทมา เวียงอินทร์
สุภัทรศักดิ์ คำสามารถ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง บทร้อยกรอง รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอหนองพอก มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และความพึงพอใจของการจัดการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) เรื่อง บทร้อยกรองของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กศน.อำเภอหนองพอก ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาภาษาไทย (พท 21001) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้สาระความรู้พื้นฐาน รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่อง บทร้อยกรอง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาประสิทธิภาพ และการทดสอบสมมติฐานแบบ t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า ผลการหาประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) เรื่อง บทร้อยกรอง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีค่าประสิทธิภาพ/เท่ากับ 81.50/82.17 ซึ่งมีค่าสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) เรื่อง บทร้อยกรอง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ผลการศึกษาความพึงพอใจของการจัดการเรียนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบ CIPPA MODEL รายวิชาภาษาไทย (พท 21001) เรื่อง บทร้อยกรอง ของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศึกษานอกโรงเรียน. (2546). ชุดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาภาษาไทยระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). นโยบายและการแนะแนวการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร. (2560). ประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2557) คณะศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยสันตพล. (รายงานวิจัยคณะศึกษาศาสตร์). อุดรธานี: วิทยาลัยสันตพล.

ทรง จิตประสาท. (2526). วิธีสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. ฉะเชิงเทรา: ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ วิทยาลัยครูฉะเชิงเทรา.

ทิศนา แขมณี. (2540). การวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

พระจารุพงษ์ จึงประยูร. (2553). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย โดยกิจกรรมการเรียนแบบรวมมือ แบบ CIRC กับวิธีการสอนตามคู่มือชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3. (การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).

พิสณุ ฟองศรี. (2549). วิจัยทางการศึกษา “แนวคิดทฤฎี”. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: เทียมฝ่าการพิมพ์.

ภาวิณี ภูมิเอี่ยม. (2558). การพัฒนาหนังสืออิล็กทรอนิกส์เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านบทร้อยกรองประเภทกาพย์ยานี 11 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

วรรณี โสมประยูร. (2534). การสอนภาษาไทยระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วราภรณ์ ศรีกะรัตน์. (2563). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองตามรูปแบบการสอนแบบซินเนคติคส์ ร่วมกับแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วัฒนาพร รังคะราช. (2558). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบซิปปา (CIPPA MODEL) ที่ใช้สื่อประสม (Multimedia) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และการคิดวิเคราะห์ เรื่อง ความคล้าย วิชาคณิตศาสตร์ 5 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมนึก ภัททิยธนี. (2546). พื้นฐานการวิจัยทางการศึกษา. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัศวิน พุ่มรินทร์. (2556). ผลการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา (CIPPA MODEL) เรื่องลำดับและอนุกรมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.