แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย

Main Article Content

พีระยุทธ คุ้มศักดิ์
เกียรติชัย วีระญาณนนท์
อนันต์ ธรรมชาลัย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยั่งยืนของเศรษฐกิจชุมชนในระยะยาว โดยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ ได้แก่ 1) ศึกษาปัจจัยด้านคุณลักษณะของวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน 2) ศึกษาปัจจัยด้านการบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน และ 3) วิเคราะห์และนำเสนอแนวทางเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างคือวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน จำนวน 395 แห่ง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้แทนคณะกรรมการวิสาหกิจชุมชน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อต่างกันตามจังหวัด อายุการก่อตั้ง รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และจำนวนสมาชิก 2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ได้แก่ โครงสร้างองค์กร การวางแผน การตลาด การบริหารสมาชิก และการผลิตสินค้า/บริการ ส่งผลต่อผลการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 และ 3) แนวทางเชิงกลยุทธ์ที่เสนอประกอบด้วย 4 แนวทาง ได้แก่ การพัฒนาผู้นำ การใช้ความคิดสร้างสรรค์พัฒนาคุณภาพสินค้า/บริการ การส่งเสริมรายได้สมาชิก และการควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับชุมชน ผลการวิจัยชี้ว่าปัจจัยด้านการบริหารจัดการมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชน และแนวทางที่เสนอนั้นสามารถประยุกต์ใช้เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งและพัฒนาองค์กรในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

How to Cite
คุ้มศักดิ์ พ., วีระญาณนนท์ เ., & ธรรมชาลัย อ. (2025). แนวทางเชิงกลยุทธ์ในการยกระดับผลการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. Journal of Integration Social Sciences and Development, 5(1), 131–141. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1783
บท
บทความวิจัย

References

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2562). คู่มือการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชและเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมการเกษตร.

กองส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน. (2565). กลุ่มทะเบียนและสารสนเทศวิสาหกิจชุมชน. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2565, จาก http://www.sceb.doae.go.th/

นงลักษณ์ เพิ่มชาติ. (2562). รูปแบบการดำเนินธุรกิจของวิสาหกิจชุมชนผลผลิตทางการเกษตรเพื่อยกระดับคุณภาพเชิงพาณิชย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2): 21-37.

ประกาย วุฒิพิพัฒนพงษ์. (2562). ศึกษาเรื่อง รูปแบบการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อพัฒนาศักยภาพวิสาหกิจ ชุมชนด้าน การเกษตรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. ดุษฎีนิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

รัชดา ภักดียิ่ง. (2563). การพัฒนาศักยภาพการดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 6(1), 175-189.

วรนุช กุอุทา. (2562). แนวทางส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการจัดการวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 15(2), 449-511.

สนิทเดช จินตนา. (2564). ความมั่นคงของเศรษฐกิจฐานรากในการพึ่งตนเองของวิสาหกิจชุมชนในเขตพื้นที่ภาคกลางของประเทศไทย. วารสารการเมืองการบริหาร และกฏหมาย, 13(1), 59-74.

สนิทเดช จินตนา. (2565). แนวทางการพัฒนาศักยภาพในการจัดการธุรกิจเชิงนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขันของ วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี. วารสารด้านการบริหารรัฐกิจและการเมือง, 11(2), 87-107.

สมนึก วิโนทัย. (2562). ศักยภาพการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. วารสารเกษมบัณฑิต,20 (1). 53 – 73.

สุกัญญา ดวงอุปมา. (2562). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการจัดการที่ดี ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 2(2), 133 - 139

สุรัชญา สุขประเสริฐ (2565). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การดำเนินงานของวิสาหกิจชุมชนในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 19(87), 107-119.

สุชาติ เกตุแก้ว. (2556). การวิจัยทางการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 13). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (2565). วิสาหกิจชุมชนกับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากยุคโควิด -19. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2565, จากhttps://mgronline.com/smes/detail/

Cronbach, L.J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika. 16(3).

Krejcie, R. V.; & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3): 607-610.

Nunnally, J. C., & Bernstein, I. H. (1994). Psychometric theory (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Rovinelli, RJ และ Hambleton, RK. (1977). การใช้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาในการประเมินความถูกต้องของรายการทดสอบที่อ้างอิงตามเกณฑ์การวิจัย. Tijdschrift Voor Onderwijs, 2(1), 49-60