ชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาบทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) ศึกษาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก และ 3) ศึกษาการเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 จำนวน 285 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และสร้างสมการถดถอยเพื่อพยากรณ์ตัวแปรเกณฑ์ โดยวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. สมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3. การเป็นชุมชนเเห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก ได้แก่ ด้านการทำงานเป็นทีม (X2) ด้านภาวะผู้นำ (X3) ด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม (X1) ด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (X4) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.996 ซึ่งมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีค่าสัมประสิทธิ์การทำนายหรืออำนาจพยากรณ์ ร้อยละ 99.30 (R2= .993) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยในรูปของคะแนนมาตรฐาน (β) เท่ากับ 0.240, 0.293, 0.353 และ 0.111 ตามลำดับ.
Article Details
References
กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2560). พิมพ์เขียว Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่ง มั่นคงและยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร.
กัสมัสห์ อาแด. (2561). การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้วยกระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบร่วมมือร่วมพลังในโรงเรียนประถมศึกษา. ปรัชญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยวัดผลและสถิติการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
กันต์ธร หิรัญลักษณ์. (2564). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อคุณภาพของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระบุรี. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กันตวรรณ มีสมสาร. (2562). การจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยด้านการคิดในเอกสารการสอนชุดวิชาแนวการพัฒนาเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
จรูญ พานิชย์ผลินไชย. (2559). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ใน ศตวรรษที 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรี. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เฉลิมพล สุปัญญาบุตร. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครูด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุกในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(8): 130-143.
เชาวฤทธิ์ จงเกษกรณ์. (2561). คู่มือการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
ชวลิต ชูกำแพง. (2558). ชุมชนแห่งการเรียนรู้ของครู Professinal Learning Community : PLC. วารสารการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยสารคาม, 23(2), 1-6.
ทมนี สุขใส. (2560). การประยุกต์ใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบกระตือรือร้นสำหรับนักศึกษาระดับมหาบัณฑิตในมหาวิทยาลัยเอกชน. วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเซน, 3(1), 16-27.
เทียมจันทร์ พานิชย์ผลินไชย. (2560). การศึกษาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนิสิตระดับปริญญาตรีในโครงการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาครูในถิ่นทุรกันดารบนเขตพื้นที่สูงชายแดนไทย-เมียนมา ด้านจังหวัดตาก. คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(4), 123–132.
นันทกา วารินิน. (2557). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรูของครูสำหรับโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชรเขต 2. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal. 7(2): 1-13.
ประยูร บุญใช้. (2564). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สาหรับครูประถมศึกษา. วารสารพัฒนาการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 118-137.
พิมพันธ์ เตชะคุปต์. (2560). เหลียวหลังแลหน้าการศึกษาไทย. วาสารครุศาสตร์, 45(2), 304-309.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2560). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ยศ สามเมือง. (2561). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนโรงเรียนเอกชนในจังหวัดอุดรธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 37(4): 133-141.
รณชิต อภัยวาทิน. (2567). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของผู้สอนระดับปฐมวัย โรงเรียนนภาเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสรหลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วิจารณ์ พานิช. (2556). (2556). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ& บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น.
วรลักษณ์ ชูกำเนิด. (2557). รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูสูการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 บริบทโรงเรียนในประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วิริยะ วรายุ. (2559). การพัฒนาชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนบ้านดอนมูล (สุวรรณสาราษฎร์บำรุง) โดยการเทียบเคียงสมรรถนะกับโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ศุภลักษณ์ ชัยอาวุธ. (2564). การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
ศักดิ์นรินทร์ นิลรัตน์ศิริกุล. (2563). การพัฒนาสมรรถนะครู ด้านการจัดการเรียนรู้เชิงรุก : กรณีศึกษาสหวิทยาเขตสตึก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. วิทยานิพนธ์หลักสูตรการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สุเทพ ชิตยวงษ์. (2562). รายงานนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพมหานคร: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2. (2566). รายงานผลการจัดการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566. หนองบัวลำภู: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2
สำนักมาตรฐานวิชาชีพ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรงเทพฯ: สำนักงานเลขานุธิการคุรุสภา.
สุพิษ ชัยมงคล. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอน ระดับประถมศึกษาในพื้นที่สูง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
สุภาพ ยืนคำพะเนาว์. (2555). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการดำเนินงานตามระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สมุทร สมปอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการสร้างชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนประถมศึกษา: การวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2563). คู่มือการอบรมคณะกรรมการขับเคลื่อนกระบวนการ PLC (Professional Learning Community) “ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ”สู่อสถานศึกษา ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
อภินันท์ สิริรัตนจิตต์ และนธี เหมมันต์. (2560). การเปรียบเทียบสมรรถนะในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของคณาจารย์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. วารสารบรรณศาสตร์ มศว, 9(1); 46-56.
Cormier, R., & Olivier, D. F. (2009). Professional Learning Committees: Characteristics, Principals, and Teachers. Paper presented at the Annual Meeting of the Louisiana Education Research Association.
Diaz Martinez. (2018). Learning Fortran with active learning and Flipped Classroom at undergraduate program. Reunión Anual 2019 de La AAPT‐MX, 2.
DuFour, R., DuFour, R., & Eaker, R. (2008). Revisiting professional learning communities at work: New insights for improving schools. Teacher Librarian, 37(4), 75.
Darling-Hammond, L. & J. Baratz-Snowden. (2005). A Good Teacher in Every Classroom: Preparing the Highly Qualified Teachers our Children Deserve. San Francisco, CA: John Wiley & Sons.
DuFour R. and Eaker,R. (1998). Professional Learning Communities at Work : Best Practicefor Enhancing Student Achievement. Bloomington, IN : Solution Tree.
Hord, S.M. (1997). Professional Learning Communities: Communities of Continuous Inquiry and Improvement. (Online). Form: http://www.sedl.org/siss/plecredit/html.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Maria Entezari. (2559). Active Learning and Flipped Classroom. International Journal of Higher Education, 5.
Stacy Zeiger. (2015). English Education Miami University. Miami State.
Sergiovanni, T. (1994). Building Community in Schools. San Francisco, CA : JosseyBass.