ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

Main Article Content

ลลิดา ไสยสัตย์
ศศิรดา แพงไทย

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา 4) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครซี่มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 224 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น ด้านภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา เท่ากับ 0.985 ด้านประสิทธิผลของสถานศึกษา เท่ากับ 0.807 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2. ประสิทธิผลในการบริหารจัดการสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ทั้งโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำดิจิทัลกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 มีความสัมพันธ์กันในทางบวกอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3 ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการสื่อสารดิจิทัล และด้านการรู้ดิจิทัล ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 53.60 เป็นไปตามสมมติฐาน สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


                    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ คือ


                                  Y  = 1.770 + .240 X4 + .188X3 + .175 X1


                    สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ


                                   Z  = .323X1 + .259X4 + .202X3

Article Details

How to Cite
ไสยสัตย์ ล., & แพงไทย ศ. (2025). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. Journal of Integration Social Sciences and Development, 5(1), 63–76. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1750
บท
บทความวิจัย

References

กนกอร สมปราขญ์ (2562). ภาวะผู้นำ: แนวคิด ทฤษฎีและการพัฒนา. ขอนแก่น : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2565). แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565. สืบค้นจาก https://www.senate.go.th/commission_meeting/readfile/91143/18791/2092/22113.

กิตติพร พรงาม. (2560). ภาวะผู้นำทางวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. ฉะเชิงเทรา : มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2564). แผนปฏิบัติการดิจิทัลเพื่อการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กาญจนา นามวงศ์. (2566). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา,มหาวิทยาลัย ราชภัฏสกลนคร.

ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษ, กานนท์ แสนเภา, สวิตา อ่อนลออ. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล สำหรับนักบริหารการศึกษา Digital Era Leadership for Educational Administration. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 2563 ; 10 (1): 119 - 108.

ณัฐวุฒิ ธีรปรเมศวร์, วินัย ทองภูบาล, และสมาน อัศวภูมิ. (2567). กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น. วารสารสมาคมพัฒนาวิชาชีพการบริหารการศึกษาแห่งประเทศไทย, 6(1), 205–217.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2564). ภาวะผู้นำดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 1). ขอนแก่น: คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ทินกร คลังจินดา. (2557). บรรยากาศองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม.ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ทินกร บัวชู, ทิพภาพร บัวชู. (2563). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา The Status of DigitalLeadership of Education Management Administrators. วารสารครุศาสตร์ : Journal of Educational Studies,2562; 13 (2), 294-285.

นันท์นภัส สุทธิการ (2562). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

เนาวรัตน์ ศิริเมธางกูร. (2562). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดคณะ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยทางการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปกรณ์ ลี้สกุล. (2561). Leadership in Digital Era: ภาวะผู้นำในโลกดิจิทัล. [ออนไลน์]. สืบค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2567. จาก https://today.line.me/th/pc/article/ Leadership+in+Digital+Era.

ประจัญ เดชสุภา (2562). สมรรถนะการบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนเอกชน สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

ประภาษ จิตรักศิลป์ (2561). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนตามทัศนะของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ ค.ม. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

พัชนีย์ วิธิบุญ และบุญช่วย ศิริเกษ. (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเลย. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 10(1), 1-15.

ภัทรวดี จินดาวงศ์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการรู้ดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร,13(2), 45-58.

วิชยานนท์ ทรัพย์ถาวรธานี ศิกานต์ เพียรธัญญกรณ์ และ บดินทร์ นารถโคษา (2567). ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงานสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ปีที่ 12 ฉบับที่ 48 (กรกฎาคม – กันยายน 2567).

วิชุดา จันทร์เวโรจน์. (2567). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารดิจิทัลของผู้บริหารกับประสิทธิผลของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 19(1), 89-104.

วิมล จันทร์แก้ว. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 12(1), 45-58

วิไลพร จันทร์ไชย. (2560). ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล (พิมพ์ครั้งที่ 2) .กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมหมาย อ่ำดอนกลอย. (2566). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นำดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 25(3), 156-170.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. (2567). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567. กลุ่มนโยบายและแผน สพป.เลย เขต 3. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2567). นโยบายและจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2567. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

อัจฉรา นิยมาภา (2561). การพัฒนาตัวชี้วัดสมรรถนะภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการเรียนรู้ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 สังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 24(1), 50- 63.

เอกรัตน์ เชื้อวังคำ และวัลลภา อารีรัตน์. (2564). องค์ประกอบของภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 4. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติปีที่ 22 (น. 886-889). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Burns (1978). Leadership. New York: Harper & Row.

Eric Sheninger. (2019). Digital Leadership in Education: Transforming Practice Through Technology. New York: John Wiley & Sons.

Harris, M. (2022). Digital Communication and School Leadership Effectiveness: A Study of Contemporary Educational Management. Educational Leadership Quarterly, 45(2), 178-195.

Hoy & Miskel (2008). Educational administration: Theory, research, and practice. (8th ed.). McGraw-Hill.

Gerald, C. (Jerry) Kane. (2018). Common traits of the best digital leaders. Retrieved July 30, 2024, from https://sloanreview.mit.edu/article/commontraits-of-the-best-digital-leaders

Mott. (1972). The characteristic of effective organization. New York: Harper and Row.

Nahavandi, A & Malekzadeh, A.R. (1993). Organization Culture in the Management of Mergers. New York: Quorum Book.Northouse (2010)

Sheninger, E. (2019). Digital leadership: changing paradigms for changing time. Newbury Park, CA: Sage Publications.

Zhu. (2017). Five Key Elements in Digital Leadership. Retrieved July 28, 2024, From http:// futureofcio. blogspot.com/2015/01/five-key-elements-in-digitalleadership.html