การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

จิรวัฒน์ เข็มทอง
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ 3) เพื่อพัฒนาความสามารถทางภูมิศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 41 คน โรงเรียนกันทรวิชัย อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 โดยกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ จำนวน 14 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดความสามารถทางภูมิศาสตร์ แบบอัตนัย จำนวน 1 ข้อ และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณ 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test แบบ Dependent


          ผลวิจัย พบกว่า 1) การพัฒนาและวิเคราะห์ประสิทธิภาพกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรป สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ผลการพัฒนามีค่าเฉลี่ยระหว่าง 4.70 – 4.88 และมีประสิทธิภาพเท่ากับ 87.50/83.73 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรป  มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50 3) ความสามารถทางภูมิศาสตร์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ หลังเรียนมีการพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .50 และ 4) มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกระบวนการทางภูมิศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เข็มทอง จ., & โพธิวรรณ์ ป. (2025). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการทางภูมิศาสตร์ เรื่อง ทวีปยุโรปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. Journal of Integration Social Sciences and Development, 5(1), 53–62. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1749
บท
บทความวิจัย

References

กนก จันทรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์ Geo-literacy learning for our planet : ถอดบทเรียนประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางสาระภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ :โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กนก จันรา. (2561). การรู้เรื่องภูมิศาสตร์: ถอดบทเรียน ประสบการณ์การจัดการเรียนรู้ภูมิศาสตร์ในชั้นเรียนเรียนที่เสริมสร้างการรู้เรื่องภูมิศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ขวัญชัย ขัวนาและคณะ. (2562). การจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 2. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.(พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์.บุญชม ศรีสะอาดและคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา.พิมพ์ครั้งที่5. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2552). พื้นฐานการวิจัยการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 5).กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.

โรงเรียนกันทรวิชัย. (2564). รายงานผลการประเมินด้านผลสัมฤทธิ์และความสามารถทางภูมิศาสตร์ (SAR) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ประจำปีการศึกษา 2565. วิชาการโรงเรียนกันทรวิชัย.