ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร

Main Article Content

จิรา ด้นหวัง
กุลจิรา รักษนคร

บทคัดย่อ

          งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา 4) ศึกษาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 240 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.998 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2. ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ ด้านการสร้างบรรยากาศเชิงนวัตกรรม ด้านการสร้างความร่วมมือและการทำงานเป็นทีม ด้านการสร้างแรงบันดาลใจและการมีส่วนร่วม และด้านการติดตามและประเมินผลนวัตกรรม ส่งผลต่อความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยร่วมกันพยากรณ์ความแปรปรวนของความเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา ได้ร้อยละ 71.80


                สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้


                       สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบได้ ดังนี้


                                Ŷ = 1.23 + 0.162X1 + 0.716X2 + .253X4 + 0.515X6


                        สามารถเขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้


                                 Ẑ = 0.195Z1 + 0.806Z2 + 0.263Z4 + 0.561Z5

Article Details

How to Cite
ด้นหวัง จ., & รักษนคร ก. (2025). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร. Journal of Integration Social Sciences and Development, 5(1), 27–39. สืบค้น จาก https://so15.tci-thaijo.org/index.php/JISSD/article/view/1747
บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ แสนเสนาะ. (2567). ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานครเขต 1 กลุ่ม 2. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 25(2), 2293 – 2302.

กันตินันท์ เวชสาร. (2565). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมทักษะคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิตสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

เกียรติศักดิ์ วงษ์ชัย. (2567). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา กับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 18(3), 27-83.

คณิศร ผู้มีทรัพย์. (2562).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา และความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 14 จังหวัดภูเก็ต. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต.สาขาบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ปารวี บุญเพชร์, เก็จกนก เอื้อวงศ์ และชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหาร สถานศึกษากับความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช.วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ. 14(1), 29-44.

พิมพ์พิไล เหล่าพิมพ์. (2565). ปัจจัยภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมที่ส่งผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดอุดรธานี. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(2), 2197-2210.

ภูมิประสิทธิ์ ไชยบาล. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมกับความเป็นองค์กร แห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพะเยา เขต 2. มหาวิทยาลัยพะเยา

ส่วนนโยบายและแผนการศึกษา สำนักงานยุทธศาสตร์การศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2563). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานกรุงเทพมหานคร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2564- 2569). กรุงเทพฯ: วันไฟน์เดย์.

สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร. (2567). รายงานสถิติการศึกษา ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: พจน์กล่องกระดาษ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2562). รายงานผลการดำเนินงานประจำปี 2562. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน: กลุ่มวิจัยเชิงประเมินและสารสนเทศ สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อาริยา แสงนิล. (2567). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศรีสะเกษ ยโสธร. วารสารมหาจุฬาคชสาร, 15(1), 226 – 240.

Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). “Determining Sample Size for Research Activities”. Educational and Psychological Measurement, 30(3). 607 – 610.

Tierney, P., Farmer, & Graen, G. B. (1999). An examination of leadership and employee creativity: The relevance of traits and relationships. Personnel psychology, 52(3), 591-620.

Van de Ven, A. H., & Chu, Y. (1998). A psychometric assessment of the Minnesota Innovation Survary. In A. Van de Ven, H. Angle, & M.S. Poole (eds.), Research on the Management of Innovation: The Minnesota Studies. New York, NY: Harper & Row.